• ชัยวุฒิ ย้ำโพสต์เรื่องส่วนตัว-กิจกรรมในครอบครัวไม่ผิด กม. PDPA |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 21 มิ.ย. 65 เวลา 12:45:41 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
“ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส ย้ำในวงเสวนาสมาคมนักข่าว กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยกเว้นไม่บังคับใช้กับผู้โพสต์หรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวหรือกิจกรรมในครอบครัวตัวเอง ที่ไม่ได้มุ่งหาประโยชน์อื่น การทำงานของสื่อมวลชนตามจริยธรรมทางวิชาชีพ และการเก็บรวบรวมข้อมูลของหน่วยงานในการรักษาความมั่นคงและประโยชน์สาธารณะของประชาชน
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในงานเสวนาจิบน้ำชา “ไขข้อข้องใจ PDPA สมาคมนักข่าว” วันนี้ (20 มิ.ย. 65) ว่า ปัจจุบันคนไทยใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์เฉลี่ยวันละกว่า 8 ชั่วโมง และทำกิจกรรมต่างๆ ผ่านโลกออนไลน์ เช่น การซื้อของออนไลน์ สั่งดิลิเวอรี่ ที่ต้องมีการแจ้งชื่อ เบอร์โทร ข้อมูลการติดต่อ ทำให้มีข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่ไปจัดเก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบสื่อสารจำนวนมาก โดยที่ตัวเจ้าของข้อมูลอาจไม่รู้ตัว
บริบทข้างต้นสะท้อนให้เห็นโอกาสของการพลั้งเผลอที่อาจจะปล่อยข้อมูลส่วนตัว เข้าสู่ระบบเครือข่ายเทคโนโลยี จนกลายเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างไม่ตั้งใจ จึงทำให้รัฐบาลเห็นความสำคัญในการออก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA มาบังคับใช้ หลักการสำคัญคือเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล
“อยากให้สื่อมวลชน ศึกษาทำความเข้าใจกฎหมายฉบับนี้ในเรื่องการยกเว้น โดยใน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลฯ ได้กำหนดข้อยกเว้น ในมาตรา 4 ซึ่งมีข้อยกเว้นที่กฎหมายฉบับนี้ไม่บังคับใช้ ได้แก่
1.ข้อมูลที่โพสต์หรือแชร์ เป็นเรื่องส่วนตัว เรื่องในครอบครัว ไม่ใช่เรื่องการค้า หรือการไปหาประโยชน์ใดๆ
2.การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน การเสนอข่าว การทำหน้าที่ตามมาตรฐานจริยธรรมทางวิชาชีพ ซึ่งจะไม่ผิดตามกฎหมายฉบับนี้ อย่างไรก็ตามต้องระวังว่าอาจไปละเมิดกฎหมายอื่นๆ ได้แก่ กฎหมายหมิ่นประมาท เป็นต้น
3.งานด้านความมั่นคง เพื่อประโยชน์สาธารณะของประชาชน เพื่อรักษาความสงบสุขของประชาชน โดยจะมีข้อมูลของประชาชนจำนวนมาก จาการที่ต้องติดตามสืบสวนคดีต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับภัยความมั่นคง” นายชัยวุฒิกล่าว
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของข้อมูลจากการทำธุรกรรมระหว่างประชาชนกับบริษัทร้านค้าต่างๆ รวมถึงข้อมูลที่ให้ไว้กับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งองค์กรทั้งรัฐและเอกชนต่างๆ ก้ต้องมีการปรับตัวในการลงทุนทำระบบป้องกัน โดยมองว่า ระบบแรกที่ต้องดำเนินการ ก็คือ การบริหารจัดการภายในเกี่ยวกับบุคลากร มีการให้ความรู้ และมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ในการไม่ปล่อยให้ข้อมูลรั่วไหล
โดยงานเสวนาวันนี้มีผู้เข้าร่วม ได้แก่ ประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผู้บังคับการ กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี ตัวแทนภาคเอกชน ตัวแทนกลุ่มอินฟูลเอนเซอร์ ภาคประชาชน และสื่อมวลชน
นายชัยวุฒิกล่าวว่า กรณีที่ประชาชนพบข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลหรือถูกละเมิด สามารถร้องเรียนไปที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) และหน่วยงานนั้นๆ ที่ทำให้ข้อมูลรั่วไหล ขณะเดียวกัน ย้ำเพิ่มเติมว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ รัฐและเอกชน ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้แล้ว เกิดประโยชน์ คุ้มครองสิทธิของประชาชนได้จริง นี่คือเป้าหมายสูงสุด และต้องไม่เป็นภาระต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ มากเกินไป
“เจตนาของข้อกฎหมายก็เพื่อคุ้มครองการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ให้เกิดความโปร่งใส ผู้ที่ถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ก็สามารถตรวจสอบได้ ขอยกเลิกได้ เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของโลกดิจิทัลให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นขณะที่ภาคเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐเอง ก็จะได้ปรับตัวเข้าสู่การจัดระเบียบข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยยกระดับมาตรฐานการเชื่อมต่อด้านข้อมูลให้นานาประเทศยอมรับมากขึ้น ดังเช่นการหารือของผมกับผู้นำสิงคโปร์ก่อนหน้านี้ ที่ยืนยันว่าการเริ่มบังคับใช้ PDPA ของเราเป็นเรื่องดีที่จะช่วยพัฒนาประเทศไทยเข้าสู่มาตรฐานอีกระดับของโลกยุคดิจิทัลต่อไป” นายชัยวุฒิกล่าว
ที่มา: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 206 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 21 มิ.ย. 65
เวลา 12:45:41
|