• สมาคมประกันวินาศภัยไทยเผย พบการทำเอกสารปลอมเพื่อรับค่าสินไหมทดแทนประกันภัยโควิด-19 แล้วกว่า 500 ล้านบาท |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 05 ก.ค. 65 เวลา 11:54:39 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้รับแจ้งจากบริษัทสมาชิกของสมาคมฯหลายบริษัท ว่าพบผู้ที่ทำประกันภัยโควิด-19 ใช้เอกสารปลอมในการยื่นขอรับเงินค่าสินไหมทดแทนรวมเป็นจำนวนแล้วกว่า 500 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้มีผู้ทำประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบที่ติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก บริษัทประกันวินาศภัยที่รับประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบ จึงได้เร่งดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ทำประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ให้รวดเร็วที่สุดเพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ทำประกันภัย ซึ่งจากการเร่งดำเนินการจ่ายค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว ทำให้การตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ จำนวนมหาศาลที่ผู้ทำประกันภัยโควิด-19 ได้ส่งมาให้บริษัทประกันภัยเพื่อแสดงหลักฐานในการขอรับค่าสินไหมทดแทนอาจทำได้ไม่ถี่ถ้วนทั้งหมด ส่งผลให้มีผู้ทำประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบจำนวนหนึ่งซึ่งใช้เอกสารปลอมยื่นขอรับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ได้รับเงินไปเป็นที่เรียบร้อย
ทั้งนี้ หลังจากสถานการณ์การเร่งจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนได้คลี่คลายลง บริษัทประกันภัยได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ทั้งหมดอย่างถี่ถ้วนอีกครั้ง โดยได้ประสานงานกับโรงพยาบาลหรือสถานที่รับตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขและพบว่า มีผู้ทำประกันภัยโควิด-19 แบบเจอจ่ายจบที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนหลายพันราย ได้ใช้เอกสารปลอมเพื่อยื่นขอรับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยและได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว ซึ่งเอกสารปลอมที่ผู้ทำประกันภัยนำมาใช้ในการยื่นขอรับค่าสินไหมทดแทนมีทั้งเอกสารข้อมูลผู้ป่วยปลอม โดยนำหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยของโรงพยาบาล (Hospital Number) ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 รายอื่นมาใช้เป็นหมายเลขประจำตัวผู้ป่วยของตนเอง รวมทั้งมีการทำเอกสารใบรับรองผลตรวจโควิด-19 ปลอมด้วยเป็นจำนวนมาก
การกระทำในลักษณะดังกล่าวจัดว่าเป็นการฉ้อฉลประกันภัยและผู้ที่มีพฤติกรรมฉ้อฉลประกันภัยจะต้องรับโทษตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ประกันภัยถือเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะผู้เอาประกันภัยที่สุจริตเท่านั้น
ที่มา: สมาคม ประกันวินาศภัยไทย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 230 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 05 ก.ค. 65
เวลา 11:54:39
|