• ศูนย์จีโนมฯ มหิดล แจงนั่งส้วมสาธารณะ ยากมาก ติดฝีดาษลิง ยกเว้นมีแผลสดที่ก้น |
โพสต์โดย คนขับ , วันที่ 01 ส.ค. 65 เวลา 18:02:30 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เราสามารถติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วมในห้องน้ำได้หรือไม่?? ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก อธิบายว่า ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการแพร่เชื้อของไวรัสฝีดาษลิงระหว่างคนสู่คน ผิวหนังปกติของคน เป็นปราการด่านแรกและด่านสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อจากบรรดาจุลชีพรวมทั้งไวรัสฝีดาษลิงจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้
สังเกตจากการปลูกฝีในอดีตที่ใช้เชื้อไวรัสฝีดาษม้า “ vaccinia virus” มาปลูกฝี ต้องใช้วัตถุมีคม เช่น มีดปลายแหลมหรือ เข็ม มากรีด หรือขีดข่วนผิวหนังบริเวณต้นแขนให้เกิดแผล(เลือดไหลซิบ) ก่อนหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไป เพื่อช่วยให้ไวรัสเชื้อเป็นในหนองฝีเข้าสู่ผิวหนังและเพิ่มจำนวนกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้
จากประสบการณ์ตรง (อดีตที่เคยถูกปลูกฝี) เพื่อนหลายคนปลูกฝีไม่ขึ้น (ไม่เกิดแผลเป็น) ต้องมาปลูกฝีซ้ำ แสดงให้เห็นว่าการติดเชื้อไวรัสฝีดาษผ่านทางผิวหนังไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย เว้นแต่ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยถลอกหรือเป็นแผลสด (ขนาดผิวหนังมีรอยถลอกหรือแผลไม่ลึกมากพอ เชื้อไวรัสก็ไม่สามารถมาติดเราได้) จึงอาจพอตอบคำถามได้ว่า เป็นการ “ยากมาก” ที่เราจะติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงจากที่นั่งส้วม เว้นแต่เรามีแผลสดที่ก้น
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือบาดแผลสด รวมทั้งสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ เช่นเยื่อบุในปาก เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุดวงตา เยื่อบุช่องคลอด เยื่อบุทวารหนัก ฯลฯ โดยผ่านทางนิ้วมืออวัยวะเพศ หรือ วัตถุที่เป็นพาหะนำโรค(fomite) เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว เซ็กซ์ทอย(ที่กับช่องคลอดหรือกับรูทวาร) ที่ใช้ร่วมกันโดยยังมิได้ชำระฆ่าเชื้อ
-ปี ค.ศ. 1798 นพ. เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ชาวอังกฤษได้เผยแพร่วิธีปลูกฝี ผู้ที่เข้ารับการปลูกฝี จะถูกกรีดบริเวณต้นแขนให้เกิดแผลสด ก่อนการหยดหนองฝีจากสัตว์ลงไป (vaccination) พบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษ(smallpox) ได้ตลอดชีวิต
-ปี ค.ศ. 1720 ในประเทศจีนและอินเดีย ได้ใช้หนองฝีของคนที่เป็นฝีดาษทำให้แห้ง บดเป็นผง และเป่าผ่านเข้าทางรูจมูก (mucosal vaccination) ของผู้คนที่ต้องการจะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อฝีดาษในสมัยนั้น เรียกวิธีนี้ว่า“Variolation” ไวรัสจะเข้าไปในเยื่อบุทางเดินหายใจเพิ่มจำนวนในวงจำกัดและเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันต่อการติดเชื้อไวรัสฝีดาษ
ทั้ง 2 กรณีพิสูจน์ว่า มนุษย์เราสามารถติดเชื้อฝีดาษผ่าน รอยถลอก บาดแผลสด และเยื่อบุ (mucosal tissue) ในร่างกาย
ที่มา : https://www.facebook.com/CMGrama/posts/5273319342775803
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 229 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนขับ
IP: Hide ip
, วันที่ 01 ส.ค. 65
เวลา 18:02:30
|