กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 65 จะมีสัดส่วนอยู่ที่ 89.3% ต่อจีดีพี คิดเป็นมูลค่าหนี้ครัวเรือน 14.97 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 16 ปี นับตั้งแต่ที่ม.หอการค้าไทย ได้เคยทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี 50
พบก่อหนี้เพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าโดยคิดเป็นจำนวนหนี้ 501,711 บาทต่อครัวเรือน สูงสุดเป็นประวัติการณ์
แต่ในทางเศรษฐศาสตร์ยังไม่น่ากังวล เพราะเป็นหนี้ที่อยู่ในระบบคิดเป็นสัดส่วนถึง 79% ส่วนหนี้นอกระบบอยู่ที่ 21% ทั้งนี้ มูลค่าหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาจจะเป็นข้อจำกัดที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ไม่โดดเด่นนัก
สำหรับภาระหนี้สิน พบว่ามีจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ราว 5 แสนบาท แยกเป็นหนี้ในระบบ 78.9% และหนี้นอกระบบ 21.1% โดยมีภาระที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน เฉลี่ยที่ 12,800 บาท สำหรับสาเหตุของการเป็นหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ตอบว่า เป็นเพราะค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รองลงมา คือ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย และการผ่อนสินค้ามากเกินไป โดยกลุ่มตัวอย่างถึง 65.9% ตอบว่าเคยผิดนัดชำระหนี้ ขณะที่ 34.1% ตอบว่าไม่เคยผิดนัดชำระหนี้
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ พบว่าสาเหตุ 5 อันดับแรก มาจาก
1.รายได้/รายรับที่ลดลง
2.เศรษฐกิจไม่ดี
3.ค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้
4.ปัญหาสภาพคล่องของธุรกิจ/ครัวเรือน
5.การแพร่ระบาดของโควิด-19
ศูนย์พยากรณ์ฯ มีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยอันดับแรก คือ การหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รองลงมา คือ การให้ความรู้ในการบริหารหนี้ และการฝึกอบรมวิชาชีพ/เพิ่มทักษะในการประกอบอาชีพรวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการวางแผนการใช้จ่าย ด้านปัจจัยที่จะทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนปรับลดลงจากระดับ 89-90% ในปัจจุบัน ลงมาอยู่ที่ระดับ 80% ได้ภายใน 5 ปี หากเศรษฐกิจไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้าสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 6.2% ต่อปี
ปัจจัยสำคัญ คือ ค่าครองชีพสูงขึ้น รองลงมา คือ รายได้/เงินเดือน เพิ่มขึ้น และราคาพืชผลทางการเกษตรดีขึ้นส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้น หากเปรียบเทียบรายได้ และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ 56.4% รายได้ครัวเรือนน้อยกว่ารายจ่าย ขณะที่ 23.5% รายได้ครัวเรือนมากกว่ารายจ่าย และอีก 20.1% รายได้ครัวเรือนเท่ากับรายจ่าย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ถึง 92.1% ยังเห็นว่าค่าครองชีพในปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับรายได้ในปัจจุบัน
เมื่อสำรวจถึงภาวะหนี้สินครัวเรือน พบว่าส่วนใหญ่ 99.6% มีหนี้สิน โดยมีเพียง 0.4% เท่านั้น ที่ตอบว่าไม่มีหนี้สิน และเมื่อถามถึงประเภทหนี้สิน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคล (หนี้อุปโภคบริโภค) รองลงมา เป็นหนี้บัตรเครดิต และหนี้ยานพาหนะ/หนี้บ้าน
ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|