กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันที่ 2 ก.ย.65 ศูนย์วิจัยโรคปรสิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เผยผลตรวจปลาน้ำจืด ระบุว่าจากการตรวจสอบปลา ที่ได้มาจากชุมชนในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ก่อนส่งตรวจโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต 9 โดยปลาทั้ง 9 ตัว ที่นำมาตรวจสอบนี้ นำมาย่อยด้วย HCl-Pepsin แล้วตรวจคัดแยกพยาธิ มีระยะติดต่อพยาธิใบไม้เป็นจำนวนมาก(ตามภาพ)
เตือนประชาชนว่า หากเป็นไปได้อย่าได้คิดกินดิบ ไม่ว่าจะเป็นเมนูลาบก้อย ปลาส้ม หรือแม้แต่ปลาร้า ที่ผ่านกระบวนการหมักไม่นาน
และศูนย์วิจัยโรคปรสิตฯ ยังได้แชร์ข้อมูลของ”เอฟเอ็มซีคลินิคเวชกรรม” ว่าในปลาส้มก็มีพยาธิ หากท่านชื่นชอบปลาส้มที่หมักไม่นาน 1-7 วัน ท่านอาจจะต้องตรวจพยาธิดูว่าติดพยาธิใบไม้หรือไม่ โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งที่พบมากในประเทศไทย
แม้แร่ใน ตำปูตำกุ้งดิบๆก็เสี่ยงติดพยาธิ
และช่วงนี้เชื่อว่าหลายท่านคงเห็นตามสื่อต่างๆ นิยมไลฟ์สดสาระพัดตำ ยำกุ้ง หอย ปู ปลาแบบดิบๆ บ่อยๆ ผ่านทางYouTube, Facebook, TikTok หากท่านคือหนึ่งในผู้ทีาชื่นชอบเมนูเหล่านี้ โดยเฉพาะตำปูนา ปูภูเขา กุ้งฝอย กุ้งภูเขาแบบดิบๆ ใส่กับส้มตำแล้วนำมากิน ท่านจะเสี่ยงต่อพยาธิหลายชนิด โดยเฉพาะ
พยาธิใบไม้ปอด ,พยาธิปอดหนูรวมถึงพวกแบคทีเรียอย่าง Shigella,Vibrio cholerae,Salmonella Typhi
ดังนั้น เป็นไปได้ควรทำให้สุกก่อนนำมาตำร่วมกับมะละกอ เพื่อลดเชื้อโรคดังข้างต้น ป้องกันความอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
เป็นเรื่องจริง ที่หลายๆท่านทำคอนเท้นต์ด้านนี้ อาจจะด้วยไม่ทราบว่าในกุ้ง หอย ปู ปลามีอะไรแฝงอยู่ แน่นอนว่า ใช่ว่าทุกรนจะได้ติดพยาธิ ก็เหมือนซื้อหวยนั่นล่ะ ซื้อไปซื้อมาก็ดวงดีแจ๊คพอร์ต
ขอบคุณข้อมูล: ศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, เอฟเอ็มซีคลินิคเวชกรรม
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|