• นักวิชาการ ยกงานวิจัยของสหรัฐอเมริกา มายืนยันว่า “ บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่มวน “ ทั้งในระยะสั้นและยาว |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 28 ก.พ. 66 เวลา 08:27:47 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า งานวิจัยยืนยัน บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่มวน โดยจากการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนที่พยายามเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งใช้ข้อมูลจากการสำรวจยาสูบของเยาวชนระดับประเทศ (National Youth Tobacco Surveys, NYTS) ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ.2558 – 2564 เน้นศึกษาในเยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่ก่อนที่จะเริ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้า ในนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย 6,435 คน อายุเฉลี่ย 15.9 ปี เป็นผู้ชาย 55.4% พบว่า เยาวชนที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเลิกบุหรี่ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้เยาวชนที่มีระดับการติดนิโคตินในระดับสูงก็จะยิ่งหยุดสูบบุหรี่ได้น้อยลง
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ กล่าวว่า สอดคล้องกับงานวิจัย จาก Ohio State University สหรัฐฯ พ.ศ.2561 ซึ่งทำการศึกษา 705 คน เพื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับสูบบุหรี่ กับกลุ่มที่สูบบุหรี่อย่างเดียว มีการติดตามสัมภาษณ์ทุก 6 เดือนรวมเวลา 18 เดือน ผลวิจัยสรุป 4 ประเด็นสำคัญ คือ
1.การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยลดจำนวนการสูบบุหรี่
2.การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยกระตุ้นให้อยากเลิกบุหรี่
3.การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกการสูบบุหรี่ในระยะยาว
4.การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยให้เลิกการสูบผลิตภัณฑ์ยาสูบอื่นๆ
เช่นเดียวกับผลการศึกษาของรัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐฯ พ.ศ.2556 - 2557 พบว่า 80% ของเยาวชนที่ลองใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ในอีกหกเดือนต่อมา รวมทั้งการศึกษาในเกาหลี พ.ศ.2554 พบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเกี่ยวข้องกับอัตราการเลิกบุหรี่ที่ลดลงเช่นกัน
ผศ.ดร.นพ.วิชช์ สรุปว่า คนที่พยายามใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ จะมีโอกาสเลิกบุหรี่ได้น้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกบุหรี่ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้านอกจากจะไม่สามารถช่วยเลิกบุหรี่ได้จริง ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย ดังนั้นประเทศไทยจึงมีกฎหมายห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อปกป้องคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน เนื่องจาก 3 ประเด็นหลักที่มีงานวิจัยหลายชิ้นรองรับแล้ว คือ
1.การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้มีนักสูบหน้าใหม่มากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน
2.บุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่มีปริมาณนิโคตินที่สูงกว่าบุหรี่และยังมีสารเคมีอื่นๆ จำนวนมากที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3.บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยเลิกบุหรี่ได้จริงในระยะยาว
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 343 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 28 ก.พ. 66
เวลา 08:27:47
|