• 13 มีนาคมเป็นวัน ช้างไทย วัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง การใช้งานช้าง และ สวัสดิภาพช้าง |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 13 มี.ค. 66 เวลา 15:56:04 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันที่ 13 มีนาคมของทุกๆปีถูกกำหนดให้เป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยหันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้างตลอดจนตระหนักในการอนุรักษ์ช้างมากขึ้น
โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ได้โพสต์บทความเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง” “การใช้งานช้าง” และ“สวัสดิภาพช้าง” เพื่อให้ข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับช้างไทยมากขึ้น
ช้างเอเชีย มีถิ่นอาศัยในทวีปเอเชียตั้งแต่เอเชียใต้มาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของช้างเอเชีย คนไทยจึงมีความผูกพันธ์กับช้างมาอย่างยาวนานก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของประเทศ เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามีการนำช้างซึ่งเป็นสัตว์ป่ามาใช้งานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจากบรรพบุรุษของอีกหลายๆชาติ เช่น การนำม้าป่ามาใช้งานของชาวตะวันตกและการนำสุนัขป่ามาใช้งานในทั่วโลก ซึ่งสัตว์เหล่านี้ก็ได้มีการปรับตัวมาเป็นสัตว์เลี้ยงจนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมของคนกับสัตว์ในแต่ละประเทศมาอย่างยาวนาน
กลับมาที่ช้างไทย ด้วยความที่ช้างมีขนาดตัวที่ใหญ่จึงมักถูกนำไปใช้งานที่ต้องการแรงมากๆซึ่งแรงของมนุษย์ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เป็นพาหนะในศึกสงคราม ใช้แบกสิ่งของในการขนส่งระยะไกล ใช้ลากไม้ เป็นต้น ซึ่งการนำช้างป่ามาฝึกใช้งานนี้เป็นวิถีของคนไทยมาตั้งแต่สมัยที่ยังไม่ได้ใช้คำว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้มีการจับช้างป่ามาเพื่อใช้งานอีกแล้ว ช้างบ้านที่เราเห็นกันจนชินตาจึงเป็นลูกหลานที่เกิดขึ้นจากพ่อแม่ที่เป็นช้างบ้านทั้งสิ้น ช้างที่เราเห็นตามปางช้างต่างๆในปัจจุบันมีความคุ้นเคยกับคน ก็เพราะช้างเหล่านี้เห็นและอยู่กับคนมาตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลกนั่นเอง
จากฐานข้อมูลของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ปัจจุบันประเทศไทยมีช้างบ้านราวๆ 3500 - 4000 เชือกช้างส่วนมากทำงานในธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น การแสดงโชว์ การนั่งช้างชมธรรมชาติ การป้อนอาหาร-อาบน้ำหรือแม้กระทั่งการเดินโชว์ตัวให้คนดูก็ถือเป็นการใช้งานช้างประเภทหนึ่งเช่นกัน พูดได้ว่าช้างบ้านไทยเป็นอีกหมุดหมายที่สำคัญของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เพราะช้างบ้านไทยมีความคุ้นเคยกับคน สามารถจับต้องใกล้ชิดได้ รวมถึงการที่มีช้างอยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างแยกไม่ได้ก็เป็นสเน่ห์สำคัญที่ทำให้ชาวต่างชาติอยากมาเที่ยวเมืองไทยอย่างไรก็ตามเหรียญมักมีสองด้านเสมอ เมื่อมีคนสนับสนุนการใช้ช้างในการท่องเที่ยว แน่นอนว่าก็มีคนต่อต้านด้วยตามที่ปรากฏในสื่อต่างๆทั้งในและต่างประเทศ
ปัญหาการใช้งานช้างของไทยก็เหมือนคำถามที่ว่า “ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อนกัน?” ถ้าให้คน 2 กลุ่มที่มีความคิดเห็นต่างกันสุดขั้วมานั่งเถียงกันโดยไม่มีใครยอมใครแล้ว ให้เวลาเท่าไหร่ก็คงไม่พอ แต่นอกจากถกเถียงเรื่องการใช้งานช้างแล้ว สิ่งหนึ่งที่เราละเลยไม่ได้หากยังอยากได้ชื่อว่าเป็นคนไทยที่รักช้างก็คือการให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ของช้าง ในเมื่อปัจจุบันเรายังต้องมีการใช้งานช้างอยู่ เพราะช้างเองก็ยังต้องกินต้องใช้เหมือนคน ช้างจึงต้องการwork-life balance และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีนอกเหนือเวลางานไม่ต่างจากคนเราเช่นกัน
ปัจจุบันมีนักวิชาการจำนวนมากที่ทำการศึกษาถึงชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพ สวัสดิภาพและการใช้งานช้างบ้านของไทย ทั้งนี้ก็เพื่อพยายามหาจุดเหมาะสมที่จะทำให้ช้างไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในขณะที่วิถีวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างของไทยก็ยังไม่ถูกทำลายและคนเลี้ยงช้างเองก็ยังสามารถอยู่รอดเพื่ออนุรักษ์วิถีนี้สืบต่อไป
ข้อมูล: โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 195 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 13 มี.ค. 66
เวลา 15:56:04
|