กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
สศช. รายงานถึงสถานการณ์ด้านแรงงานที่ปรับตัวดีขึ้นโดย ณ สิ้นไตรมาสที่4/65 ทั่วประเทศมีการจ้างงานทั้งสิ้น39.6 ล้านคนนั้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ขณะที่การว่างงานก็ดีขึ้นโดยมีผู้ว่างงานทั้งหมด 4.6 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.15 ของแรงงานที่อยู่ในกำลังแรงงาน โดยประเด็นที่หน่วยงานเกี่ยวข้องจะต้องติดตามสำหรับภาคแรงงานนี้ก็คือ การจ้างงานในอุตสาหกรรมการส่งออกและโอกาสการหางานของนักศึกษาจบใหม่ ภาระค่าครองชีพของแรงงานจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูง และปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการท่องเที่ยว
สำหรับประเด็นหนี้สินครัวเรือน ข้อมูล ณ เดือนก.ย. 65 พบว่า หนี้สินครัวเรือนทั้งระบบอยู่ที่ 14.90 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ลดลงเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนมิ.ย. 65 ที่อยู่ที่ร้อยละ 88.1 ขณะที่หนี้ด้อยคุณภาพหรือ NPL ยังคงทรงตัวที่ร้อยละ 2.62 ของสินเชื่อรวม เกี่ยวกับหนี้สินครัวเรือนนี้ มีประเด็นที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องติดตามและให้ความสำคัญคือ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณผิดนัดชำระ และการกำหนดมาตรการเฉพาะเจาะจงเพื่อช่วยเหลือกลุ่มหนี้เสียจากโควิด19
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ทางด้านภาวะสังคมเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนพบว่าทั้งไตรมาสที่4/65 และตลอดปี 65 ประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังสูงขึ้นได้แก่โรคปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก ขณะที่ปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง โดยข้อมูล ณ ปี 64 ระบุว่าคนไทยป่วยด้วยโรคซึมเศร้าถึง 358,267 คน จากปี2563 ที่มีจำนวน 355,537 คน โดยมีประเด็นที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องดำเนินการขับเคลื่อนคือ การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด19 หลังประเทศเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ตลอดจนมาตรการป้องกันมลพิษทางอากาศที่ยั่งยืน
ในส่วนของการศึกษาซึ่งมีข้อมูล ณ สิ้นปี 64 นั้น แม้จะพบว่าเด็กไทยมีการเข้าเรียนในระบบการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 81.7 แต่ภาพรวมการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน(O-NET) มีคะแนนลดลงในทุกระดับซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการแพร่ระบาดของโควิด19 ที่กระทบต่อระบบการเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญกับการเร่งฟื้นฟูความรู้ของเด็กไทยที่หายไปในช่วงโควิด19 ดูแลการพัฒนาที่สมวัยของเด็ก และแก้ไขปัญหากการหลุดออกนอกระบบการศึกษา
ทางด้านประเด็นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่นั้น ณ ไตรมาส4/65 พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ขณะที่เฉลี่ยทั้งปี 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ซึ่งสอดคล้องกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหลังโควิด19 ส่วนของสถานการณ์คดีอาญา ตลอดปี 65 มีการแจ้งความคดีอาญา 431,666 คดี ลดลงร้อยละ 18.4 แม้ภาพรวมจะลดลงแต่พบว่าคดีข่มขืนกระทำชำเรา และการประทุษร้ายต่อทรัพย์ผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 17.3 และ 106.8 ตามลำดับ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องติดตามให้ความสำคัญกับการจัดการกับภัยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยไซเบอร์การแพร่ระบาดของยาเสพติดชนิดใหม่ การเล่นพนันออนไลน์ และการใช้ความรุนแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ขณะเดียวกัน ต้องให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งในปี 65 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประสบภัยมากถึง 941,089 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากปีก่อนหน้า มีการเฝ้าระวังประเด็นที่นำไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การหลอกลวงให้ประชาชนเปิดบัญชีม้า การหลอกลวงให้ใช้แอปพลิเคชันเงินกู้เถื่อน ปัญหาการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะโดยเฉพาะแท็กซี่ ปัญหารถรับส่งนักเรียนไม่ปลอดภัย ปัญหาและความเสี่ยงการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์กับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|