กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในปี 2566 ประเทศไทยประสบปัญหาจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดต่ำลงต่อเนื่อง จากเดิมในปี 2506-2526 มีเด็กเกิดใหม่ไม่ต่ำกว่าปีละ 1 ล้านคน ลดเหลือ 502,107 คนในปี 2565 และอาจต่ำกว่า 500,000 คน ในปี 2566 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์เวียดนาม เกาหลีใต้ และอีกกว่า 120 ประเทศ
ขณะที่จำนวนการเกิดลดลงจำนวนผู้สูงอายุกลับเพิ่มขึ้น โดยในปี 2564 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุแบบสมบูรณ์คือ มีประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 20 และในปี 2579 จะเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอดคือ มีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปร้อยละ 30 ทำให้ในปี 2566 นี้ เป็นปีแรกที่จำนวนประชากรเข้าสู่วัยแรงงาน อายุ 20-24 ปีไม่สามารถชดเชยจำนวนประชากร ที่ออกจากวัยแรงงาน อายุ 60-64 ปีได้
จากประเด็นปัญหาดังกล่าว กรมอนามัย จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 ฯ ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 มาต่อเนื่อง แต่พบจำนวนการเกิดยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในระยะครึ่งแผนหลัง กรมอนามัยและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงได้เสนอมาตรการทางเลือกในการแก้ไขปัญหา อาทิ การส่งเสริมการจัดตั้งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอายุต่ำกว่า 2 ปี การเพิ่มสิทธิการลาในการเลี้ยงดูบุตรของพ่อแม่ มาตรการ work from home การยืดหยุ่นเวลางาน การลาคลอดได้ 6 เดือนโดยได้รับค่าจ้าง สิทธิการรักษาและสิทธิการลาเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก การใช้ AI เข้ามาทดแทนการใช้มนุษย์ในสาขาที่มีความขาดแคลน การเลื่อนการเกษียณอายุให้สูงขึ้น การส่งเสริมการออมสำหรับการเกษียณและการส่งเสริมการสร้างอาชีพรอง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
ด้าน ดร.นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กล่าวว่า การเพิ่มจำนวนการเกิดนี้ อาจต้องมองในหลายมิติเพิ่มเติม การเพิ่มจำนวนการเกิดจากผู้ที่มีความพร้อมหรือจากคนไทยเพียงอย่างเดียว อาจไม่ทันต่อการรับมือกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งจะกระทบต่อ GDP และความมั่นคงของประเทศในภาพรวม รัฐบาลควรเป็นผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดความครอบคลุม เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|