• ระวัง !! แมลงก้นกระดก มีพิษแรงทำผิวหนังแสบร้อน เป็นรอยไหม้ |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 17 ต.ค. 66 เวลา 17:12:39 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
แมลงก้นกระดกมีหัวสีดำ ท้องสีส้มขนาด 7-9 มม.มีก้นกระดกมีสารพิษ Paedarin ทำให้ผิวหนังไหม้และแสบร้อน พบมากช่วงฤดูฝนในพงหญ้าหรือหนองน้ำ
รอยแผล ผื่น หรือตุ่มพอง ที่ผิวหนังสัมผัสกับพิษของแมลงก้นกระดกนั้น หากบริเวณใบหน้า ลำคอ และแขน มีลักษณะคล้ายกับอาการของโรคงูสวัด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ผื่นงูสวัด จะมีอาการปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทในบริเวณที่เกิดผื่น ทั้งนี้หากได้รับพิษจากก้นกระดกมาแล้ว 1 สัปดาห์แต่อาการยังไม่บรรเทาลง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
พิษของแมลงก้นกระดก
ผิวหนังจะเกิดการระคายเคือง เกิดอาการคัน แดง แสบร้อน
เกิดผื่น หรือตุ่มพองน้ำ อาจจะรู้สึกคัน หรือเจ็บ ปวด หลังสัมผัสพิษ 24 ชั่วโมงขึ้นไป
หากเกาตามผิวหนังที่ได้รับพิษ บริเวณข้อพับต่าง ๆ ผื่นจะแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ได้
หากผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสพิษ มาแล้ว 10 วัน ผื่น หรือแผลจะตกสะเก็ด
หลังแผลตกสะเก็ดจะเกิดรอยดำบนผิวหนังเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าหากติดเชื้อแบคทีเรียจะเกิดแผลเป็นได้
อาการรุนแรง
เป็นไข้
ปวดศีรษะ
คลื่นไส้
อาเจียน
หากพิษเข้าดวงตา สามารถสูญเสียการมองเห็นได้
วิธีการปฐมพยาบาล
- ไม่สัมผัสหรือบี้ ให้เป่าออกแทน
- ล้างด้วยน้ำสบู่หลาย ๆ ครั้ง
- ประคบผิวด้วยผ้าชุบน้ำเย็น
- อาการไม่ดีขึ้นให้พบแพทย์
การป้องกันแมลงก้นกระดก
หลีกเลี่ยงการสัมผัสก้นกระดก หากพบแมลงก้นกระดกใช้การเป่ามันออกไป
สวมเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวในขณะนอนหลับ
เปลี่ยนหลอดไฟให้เป็นสีเหลือง
ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะเตียงนอน
ปิดประตู และหน้าต่าง เพื่อป้องกันแมลงก้นกระดก
ไม่เปิดไฟทิ้งไว้ในตอนกลางคืน เพราะแมลงก้นกระดกจะมาตอมไฟ
ที่มา : สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 436 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 17 ต.ค. 66
เวลา 17:12:39
|