• โรคไอกรนในเด็ก อาการคล้ายโรคหวัดธรรมดา แต่อันตรายถึงตาย |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 16 ธ.ค. 66 เวลา 22:33:38 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
“โรคไอกรน” (Pertussis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัย แต่จะรุนแรงมากในวัยเด็กโดยเฉพาะในช่วง
ขวบปีแรก ส่วนใหญ่อาการจะคล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป ทำให้พ่อแม่อาจไม่ทันได้ระวังภัยของของโรคดังกล่าว การเกิดไอกรนในวัยเด็กมักเกิดจากการได้รับวัคซีนป้องกันที่ยังไม่ครบหรือบางรายอาจยังไม่เคยได้รับวัคซีน ทำให้เด็กยังขาดภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรค
สถานการณ์โรคไอกรน
จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม–26 พฤศจิกายน
2566 พบผู้ป่วย 121 ราย จาก 9 จังหวัด คิดเป็นอัตราป่วย 0.18 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 2 ราย
อายุ 18 วัน และอายุ 1 เดือน อัตราป่วยตายร้อยละ 1.65 อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 0.86 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 0–4 ปี ร้อยละ 55.37 รองลงมา คือ 10–14 ปี (ร้อยละ 12.40) และ 15–24 ปี(8.26) ตามลำดับ ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคใต้พบผู้ป่วย 110 ราย (ร้อยละ 90.91) ภาคกลาง 8 ราย(6.61) และภาคเหนือ 3 ราย (2.48) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังไม่มีรายงานการพบผู้ป่วย
อาการ
อาการแรกเริ่มจะคล้ายกับโรคไข้หวัด คือ มีน้ำมูกเล็กน้อย ไอเล็กน้อย มีไข้ต่ำๆ สิ่งที่แตกต่างจาก
ไข้หวัด คือ น้ำมูกจะไม่เยอะ แต่อาการไอจะมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากนั้นจะเริ่มไอมากขึ้น ไอเป็นชุด ไอจน
อาเจียน ไอติดต่อกันจนไม่สามารถควบคุมการหายใจได้ และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตัวเขียว โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ไอหนักจนตัวเขียว หรือไอจนหยุดหายใจ ท าให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนอาการชักพบได้แต่ไม่บ่อยนัก
การควบคุมการระบาดและการป้องกันโรคไอกรน
หากผู้ป่วยอาการเข้าได้กับโรคไอกรน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการและรับการรักษา ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการกินยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมภายใต้ค าแนะนำของแพทย์ ส่วนผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกคนควรได้รับยาปฏิชีวนะ (post-exposure prophylaxis) เพื่อป้องกันการเกิดโรคและควบคุมการระบาด และควรเน้นเรื่องการกินยาให้ครบ
การรับวัคซีน เป็นการป้องกันป้องกันโรคที่ดีที่สุดและเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันในระยะยาว ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนแบบรวม โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก การฉีดวัคซีนจะฉีด 5 ครั้ง ใน 6 ขวบปีแรก โดยเข็มแรกจะให้ตอนอายุ 2 เดือน เข็มที่สองให้ตอนอายุ 4 เดือน เข็มที่สามให้ตอนอายุ 6 เดือน เข็มที่สี่ให้ตอนอายุ 1 ปี 6 เดือน และเข็มที่ห้าให้ตอนอายุ 4–6 ปี อาการข้างเคียงที่สามารถพบได้หลังฉีดวัคซีนชนิดนี้ คือ ไข้สูง ร้องกวน มักเกิดในช่วง 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน แต่อาการไม่รุนแรง หากเริ่มมีอาการไข้สามารถให้ยาป้องกันไข้ได้ อาการไข้สามารถหายเองได้ภายใน 1–2 วัน
กลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีน
หญิงตั้งครรภ์ คือ กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีน วัคซีนที่รับจะเป็นชนิดไร้เซลล์ (aP) ซึ่งมีความปลอดภัต่อแม่และเด็กในครรภ์ โดยจะฉีดวัคซีน 1 เข็มในอายุครรภ์ 20-32 สัปดาห์ สามารถฉีดได้ในทุกการตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเกิดโรคให้กับเด็กที่เพิ่งคลอด อาการข้างเคียงที่สามารถพบได้ หลังจากรับวัคซีน คือ ปวด บวมแดง บริเวณที่ฉีด ซึ่งอาการข้างเคียงเหล่านี้สามารถหายเองได้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 549 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 16 ธ.ค. 66
เวลา 22:33:38
|