กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
Mr.OOHOO เชื่อว่ายังมีคนสับสนว่าระหว่างป้ายภาษี และ พ.ร.บ. นั้นต่างกันอย่างไร และมีหน้าที่สำคัญอย่างไร บทความนี้ Mr.OOHOO จะพาไปไขข้อข้องใจ ป้ายภาษี กับ พ.ร.บ. ใช่อันเดียวกันหรือไม่ ต่างกันยังไง ต้องดู!รู้หรือไม่ว่า “ไปต่อทะเบียน” ที่หลายคนคุ้นหู หมายถึงต่อภาษีรถยนต์ หรือต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ Mr.OOHOO มีคำตอบ ปกติคนส่วนใหญ่นิยมทำทั้งสองอย่างนี้ไปพร้อมกัน แต่จริง ๆ แล้วการไปต่อทะเบียน หมายถึงการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งแตกต่างกับการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ อย่างสิ้นเชิง มีเพียงสิ่งเดียวที่เหมือนกัน คือ ต้องจ่ายทุกปีและถ้าไม่ต่อก็จะมีโทษตามกฎหมายภาษีและ พ.ร.บ คืออะไร สำหรับภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องดำเนินการชำระทุกปี เพื่อนำเงินไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะจ่ายภาษี ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้เรียบร้อยก่อน เพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ไปต่อภาษี ส่วนระยะเวลาที่ผู้ขับขี่ต้องต่อภาษี สามารถเช็กได้ง่าย ๆ จากวันหมดอายุที่เขียนไว้บนป้ายภาษีหรือที่เรียกว่าป้ายวงกลมหน้ารถได้เลย วิธีการเก็บภาษี รถแต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป โดยกรมการขนส่งทางบกจัดเก็บภาษีในอัตราต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ รถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) และรถยนต์ประเภทอื่นจัดเก็บเป็นรายคัน เป็นต้น 1.จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน - 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท - 601 – 1,800 ซีซี ซีซีละ 1.50 บาท - เกิน 1,800 ซีซี ซีซีละ 4.00 บาท รถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ - จ่ายภาษี 2 เท่า รถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้ - ปีที่ 6 ร้อยละ 10 - ปีที่ 7 ร้อยละ 20 - ปีที่ 8 ร้อยละ 30 - ปีที่ 9 ร้อยละ 40 - ปีที่ 10 ขึ้นไป ร้อยละ 502.จัดเก็บเป็นรายคัน - รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท - รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท - รถพ่วงข้างจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท - รถพ่วงชนิดอื่น คันละ 100 บาท - รถบดถนน คันละ 200 บาท - รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท3.จัดเก็บตามน้ำหนัก 3.1 รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 150 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 300 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 450 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 800 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 1,000 บาท3.2 รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัดและรถยนต์บริการ น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 450 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 750 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 1,050 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 1,350 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 1,650 บาท3.3 รถยนต์รับจ้าง น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 185 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 340 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 450 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 560 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 685 บาท3.4 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์ลากจูงและ รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) ไม่เกิน 500 คันละ 300 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 501 - 750 คันละ 450 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 751 - 1,000 คันละ 600 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,001 - 1,250 คันละ 750 บาท น้ำหนักรถ(กิโลกรัม) 1,251 - 1,500 คันละ 900 บาทรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV - รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน - รถพลังงานไฟฟ้าอื่น ๆ ให้เก็บภาษีครึ่งหนึ่งของการเก็บรายคันและตามน้ำหนัก รถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน - น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท - น้ำหนัก 501 - 750 กก. ต้องเสียภาษี 60 บาท - น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 90 บาท - น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 160 บาท - น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 200 บาทภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน - น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 15 บาท - น้ำหนัก 501 – 750 กก. ต้องเสียภาษี 30 บาท - น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 45 บาท - น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 80 บาท - น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 100 บาทภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EVประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน - น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท - น้ำหนัก 501 - 750 กก. ต้องเสียภาษี 300 บาท - น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 450 บาท - น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 800 บาท - น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 1,000 บาทภาษีรถยนต์ไฟฟ้า EV ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เกิน 7 คน - น้ำหนัก ไม่เกิน 500 กก. ต้องเสียภาษี 75 บาท - น้ำหนัก 501 - 750 กก. ต้องเสียภาษี 150 บาท - น้ำหนัก 751 - 1,000 กก. ต้องเสียภาษี 225 บาท - น้ำหนัก 1,001 - 1,250 กก. ต้องเสียภาษี 400 บาท - น้ำหนัก 1,251 - 1,500 กก. ต้องเสียภาษี 500 บาท ดังนั้น รถยนต์ทุกคันจะต้องมี ป้ายภาษีรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เพื่อการประกันภัยต่อตัวรถ บุคคล และที่สำคัญทั้ง 2 อย่างนี้ จำเป็นต้องทำทุกปีตามที่กฎหมายได้ระบุไว้ เพราะถ้าหากรถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ ความคุ้มครองและการชดเชยค่าเบิกจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะไม่สามารถทำได้ และจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ด้วยเช่นกัน หากใครที่กำลังมองหาประกันรถยนต์ ต้องการต่อประกันรถยนต์ Mr.OOHOO ขอแนะนำ OOHOO.io ประกันออนไลน์ ช่วยคุ้มครองรถยนต์ของเพื่อน ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่ดูแลครบ จบทุกความต้องการหรือ ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ซื้อง่ายคุ้มครองเร็ว หรือประกันรถยนต์ชั้น 3+ ประกันคุ้มจบในที่เดียว และใครที่กำลังมองหาการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ที่คุ้มค่า รีบมาเช็กราคาประกันที่หน้าเว็บไซต์ OOHOO.io ได้เลย!ข้อมูล : portal, viriyah
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|