กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ประกาศเตือนประชาชน เรื่องภัยธรรมชาติ ในช่วงฤดูร้อนของภาคเหนือ แนะประชาชน และเกษตรกร ในพื้นที่ภาคเหนือ ที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ วางแผนป้องกัน และระวังภัยธรรมชาติ
ผู้สื่อข่าวรายงานมาเมื่อ วันที่ 26 ม.ค.นี้ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้ออกประกาศเตือนประชาชน เรื่อง ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูร้อน ของภาคเหนือ ปี พ.ศ.2551 ฉบับที่ 1 ( 4/2551) ว่า ฤดูร้อนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2550 จะเริ่มต้นช่วงครึ่งหลังเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีอากาศร้อน และมีหมอกแดดในตอนกลางวัน ระยะที่มีอากาศร้อนจัดส่วนมาก จะอยู่ในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน บางช่วงจะมีฝนตกลงมา ทำให้คลายความร้อนลงไปบ้าง ปีนี้ภาคเหนือจะมีอุณหภูมิสูงสุดต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และมีฝนตกสูงกว่าค่าเฉลี่ย ฤดูร้อนปีนี้จะสิ้นสุดประมาณครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคม แล้วจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนต่อไป
สำหรับภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อน ของภาคเหนือ ปี พ.ศ.2551 คือ พายุฤดูร้อน เกิดได้บางวันในเดือนมีนาคม และเมษายน ซึ่งเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง พายุ ลมแรง และอาจเกิดลูกเห็บตกลงมาด้วย ซึ่งจะทำความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนพืชผลทางการเกษตรได้ จึงขอให้ประชาชน ติดตามสภาพอากาศ ดูแลสิ่งปลูกสร้างให้แข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้ ค้ำยันลำต้นไม้ผลที่ไม่มีรากแก้ว ปลูกไม้ยืนต้น เช่นสนทะเล ทำแนวกันลม ขณะเดียวกัน จากสภาวะความแห้งแล้ง ฤดูร้อนปีนี้ อากาศค่อนข้างร้อน และฝนตกไม่มากนัก โดยเฉพาะพื้นที่ ที่มีฝนตกน้อยในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ฝนที่ตกลงมาในปีนี้ อาจไม่พอเพียงกับการอุปโภค บริโภค และการใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่เคยแล้งซ้ำซาก และอยู่นอกเขตชลประทาน
สำหรับปีนี้ความแห้งแล้ง ในภาคเหนือปีนี้ อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ของจังหวัด แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ,ลำพูน, ลำปาง , พะเยา , แพร่ , น่าน ,อุตรดิตถ์ , สุโขทัย , ตาก ,เพชรบูรณ์ และพิจิตร จึงขอให้ประชาชนควรใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้มีประโยชน์สูงสุดด้วย นอกจากนั้น ปัญหาอัคคีภัย ไฟป่า และหมอกควัน อากาศร้อน และแห้ง จะเอื้ออำนวยต่อการเกิดอัคคีภัย ตลอดจนไฟป่าได้ง่าย และทำความเสียหายมาก ยากแก่การควบคุม ประชาชนจึงควรดูแลดับฟืนไฟทุกครั้ง ทำแนวกันไฟในพื้นที่เสี่ยงภัย ยกเลิกเผาวัสดุในที่โล่งแจ้งทุกชนิด ลดฝุ่นที่เกิดจากการก่อสร้าง ขณะเดียวกัน พายุไซโคลน ในทะเลอันดามัน ช่วงปลายเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม อาจเคลื่อนตัวเข้าใกล้ด้านตะวันตกของภาค ทำให้มีฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินโคลนถล่มได้ จึงควรซักซ้อมความพร้อมอพยพ และติดตามสภาพอากาศ
ดังนั้นจึงขอให้ประชาชน และเกษตรกร ในภาคเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติดังกล่าว เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ วางแผนป้องกัน และระวังภัยธรรมชาติ ซึ่งจะทำความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สินสิ่งปลูกสร้าง และพืชผลทางการเกษตร ในช่วงฤดูร้อนปี 2551 ตลอดจนร่วมมือร่วมใจซักซ้อมความพร้อมอพยพ และ ติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ลำปาง มาเมื่อ วันที่ 26 มค.นี้ นายศักดา ศิวาภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำ แม่วัง-กิ่วลม จังหวัดลำปาง เผยว่า เนื่องจากช่วงนี้ เป็นช่วงต้นฤดูแล้ง และยังคงเหลือเวลาอีกหลายเดือนที่จะเข้าสู่ฤดูฝน ดังนั้นปัญหาภัยแล้ง จึงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำที่เก็บกักไว้ในเขื่อนกิ่วลมขณะนี้มีปริมาณทั้งหมด 83.5 ล้าน ลบ.ม. โดยจำนวนน้ำดังกล่าว จะต้องแบ่งเฉลี่ยในหลายส่วน โดยส่วนหลักคือ ต้องนำไปใช้เพื่อการผลิตประปาตลอดลำน้ำวัง และส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในปีนี้ได้มีการส่งเสริมการปลูกพืชฤดูแล้ง ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือประมาณ 20,000 ไร่ แบ่งเป็นปลูกข้าว 6,000 ไร่ พืชไร่ 15,000 ไร่ และจากการทำนาปีของ เกษตรกรที่ผ่านมาพบว่า การปลูกข้าวได้ผลดี ทำให้ในปีนี้มีเกษตรกรหันมาปลูกข้าวเพิ่มขึ้น ซึ่งการปลูกข้าว จะต้องใช้น้ำมากกว่าการปลูกพืชไร่ถึง 2 เท่า
ดังนั้นจึงขอเตือนเกษตรกรว่า หากเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้น อาจจะได้รับความเสียหายได้เนื่องจากในปีนี้น้ำที่ปล่อยมีปริมาณที่จำกัด โดยตามแผนการปล่อยน้ำที่วางไว้คือ ทางเขื่อนจะปล่อยน้ำออกจากเขื่อนวันละ 800,000-1,000,000 ล้าน ลบ.ม./วินาที โดยจะปล่อย 7 วัน หยุด 7 วัน ตลอดฤดูกาล ถ้าเกษตรกรปลูกข้าวเพิ่ม โอกาสขาดแคนน้ำจะเพิ่มมาก และความเสียหายอาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นทางโครงการ จึงขอความร่วมมือเกษตรให้ปลูกข้าวแต่พอประมาณ หรือในปริมาณที่เท่าเดิม อย่าขยายพื้นที่เพาะปลูก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้.
ข่าวจาก ไทยนิวส์
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|