กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ตอบคำถามหลายคนอยากทำความเข้าใจว่า “ปรับโครงสร้างหนี้” และ “รีไฟแนนซ์” แตกต่างกันอย่างไร หากเรากำลังผ่อนบ้านหรือผ่อนรถ กู้เงินก้อนซื้อบ้าน และพบว่าดอกเบี้ยสูงเกินไปจนไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ในอัตราเดิมต่อไปได้ อาจมีวิธีแก้ปัญหาให้หนี้เบาลงด้วยวิธีใดบ้าง ควรอ่านเรื่องนี้ก่อนตัดสินใจว่าแบบไหนที่เหมาะกับเรา 1.การ ขอปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากหนี้บ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวเป็น 10-30 ปี ถือเป็นภาระหนักสำหรับคนทำงานมีรายได้ระดับหมื่นต้น ๆ ดอกเบี้ยจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นในระยะถัดไป เมื่อติดขัดเงินขาดมือ ควรรีบปรึกษากับสถาบันการเงินที่เป็นหนี้อยู่โดยเร็ว อย่าผิดนัดชำระหนี้หรือชำระหนี้สินล่าช้ากว่ากำหนด พยายามอย่าให้เป็นหนี้เสียที่ก่อปัญหาใหญ่โตมากขึ้น ลูกหนี้ควรเจรจาต่อรองกับทางธนาคารหรือสถาบันการเงินขอปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เช่น จากเดิมผ่อนเดือนละ 20,000 บาท ลดเหลือ 5,000-10,000 บาท และอาจจะกลับมาผ่อนเหมือนเดิมได้เมื่อผ่านพ้นปัญหาติดขัดไปได้แล้วจุดเด่นของการปรับโครงสร้างหนี้คือการรวมหนี้ทั้งหมดเป็นยอดเดียวกัน แล้วผ่อนจ่ายแค่ดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม วิธีนี้ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการเงินชั่วคราวสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปได้ เช่น คนที่มีกำลังจ่ายหนี้แต่ประสบปัญหาชั่วคราว เช่น การตกงานกะทันหันหรือเกิดอุบัติเหตุ ทำให้การเงินตึงตัว การปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่หากผู้ที่เป็นหนี้ไม่มีความสามารถในการจ่ายหนี้และมีปัญหาการชำระหนี้อยู่แล้ว การปรับโครงสร้างหนี้อาจไม่ใช่ทางออก เพราะถึงแม้จะผ่อนจ่ายแค่ดอกเบี้ย แต่หนี้เงินต้นยังคงอยู่และอาจเพิ่มภาระให้มากขึ้นกว่าเดิม 2.การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเดิม เรียกว่าเป็นการย้ายหนี้เก่าไปผ่อนกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ เพื่อให้ยอดผ่อนชำระแต่ละเดือนลดลง ยกตัวอย่างง่าย ๆ กรณีที่คุณเป็นหนี้สินเชื่อบ้านหรือสินเชื่อรถยนต์ แล้วต่อมาเกิดอาการชักหน้าไม่ถึง รู้สึกว่าผ่อนต่อไปไม่ไหวแล้ว การรีไฟแนนซ์ช่วยคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือรถยนต์ รวมถึงสามารถรีไฟแนนซ์ ปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ได้ด้วย เพียงแค่ย้ายสัญญาสินเชื่อเดิมไปเป็นสัญญาประเภทใหม่ ช่วยให้เราจัดการหนี้ได้ง่ายขึ้นจุดเด่นของการรีไฟแนนซ์คือ ช่วยยืดระยะเวลาการผ่อนนานขึ้น ทั้งยังได้ลดดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม หมายความว่ายอดผ่อนชำระต่อเดือนลดน้อยลงไปด้วย เหมาะกับช่วงที่ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างมาก การรวมหนี้เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปรับโครงสร้างหนี้ โดยนำสินเชื่อบ้านไปรวมกับสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ รวมถึงโอนหนี้บัตรเครดิตมารวมไว้ในธนาคารเดียวกัน วิธีนี้ช่วยลดภาระดอกเบี้ยและทำให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องมากขึ้น หากสามารถรวมหนี้สำเร็จก่อนกลายเป็นหนี้เสีย ลูกหนี้จะไม่เสียประวัติหรือถูกติดแบล็กลิสต์ในเครดิตบูโร ซึ่งจะส่งผลดีต่อการกู้เงินในอนาคตจุดเด่นของการรวมหนี้คือ ทำให้มีหนี้สินเหลือเพียงที่เดียว การจ่ายหนี้เพียงก้อนเดียวช่วยลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้แต่ละงวดผ่อนจ่ายน้อยลงมาก การชำระหนี้ง่ายขึ้นและมีสภาพคล่องมากขึ้น สามารถทยอยผ่อนคืนเป็นงวด ๆ จนปิดหนี้ได้ทั้งหมด
สำหรับใครที่มีหนี้สินเยอะแนะนำให้เลือกการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แนะนำให้คิดถึงการปรับโครงสร้างหนี้หรือการขอรีไฟแนนซ์บ้านได้เลย สินเชื่อบ้านแลกเงิน เพราะเป็นวิธีแก้หนี้ที่ได้รับความนิยมและมีสถาบันการเงินให้บริการอย่างถูกต้อง โดยอาจจะไม่ต้องพึ่งพาสินเชื่อบ้านแลกเงินกู้ หรือยื่นจำนองบ้าน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|