กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
รัฐบาลให้ความสำคัญในสร้างความเท่าเทียมในสังคม โดยเชื่อมั่นว่า ประชาชนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพที่พึงได้รับอย่างเสมอภาค ทุกเพศสภาพ เพศวิถี มีคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน การลงมติผ่านร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวแรกครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ และสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
รัฐบาล ชวนคนไทย นับถอยหลัง 18 มิ.ย. ร่วมฉลอง “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม”
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะจัดงานเลี้ยงรับรอง เพื่อแสดงความยินดีกับจุดเริ่มต้นของกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่สนามหญ้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล หลังจากกรรมาธิการวุฒิสภามี
การประชุมเรื่องนี้แล้วเสร็จ และเตรียมเปิดประชุมวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” โดยในงานจะมีคณะรัฐมนตรี เอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทยที่ให้ความสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ
ผู้ก่อตั้งและคณะทำงานบางกอกไพร์ด หน่วยงานราชการองค์กรเอกชนและภาคประชาสังคมผู้สนับสนุน
ความหลากหลายทางเพศ เครือข่ายพันธมิตรสีรุ้ง ผู้สื่อข่าวต่างประเทศ และสื่อมวลชน
เพื่อเฉลิมฉลองวาระสำคัญนี้ รัฐบาลจึงจัดกิจกรรมขึ้นเพื่อตอกย้ำให้ทุกคนเห็นถึง “วินาทีของความเท่าเทียม” ที่รัฐบาลนี้สนับสนุนและผลักดันมาโดยตลอด ดังนั้นจึงขอชวนประชาชนได้แสดงความยินดีกับจุดเริ่มต้นนี้ และทำให้โลกเห็นว่า ไทยกำลังจะเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน
ทั้งนี้ การที่ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมจะเดินหน้าเข้าสู่เส้นชัย โดยหากที่ประชุมวุฒิสภาเห็นชอบ
ร่างกฎหมายดังกล่าว จะส่งมายัง ครม. และนายกรัฐมนตรี จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และจะมีผลใช้บังคับ
หลังกฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน หรือประมาณในช่วงปลายปีนี้
ย้อน Timeline การเสนอ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมเข้าสู่สภา
• 19 ธ.ค. 2566 ครม. มีมติเห็นชอบให้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อสภาผู้แทนราษฎร
• 21 ธ.ค. 2566 สภาผู้แทนราษฎรมีมติ “รับหลักการ” ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม
• 27 มี.ค. 2567 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยเป็นการพิจารณารายมาตรา ในวาระสอง และการลงมติเห็นชอบในวาระสาม โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติ “เห็นชอบ” ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในวาระสาม กระบวนการถัดไป คือการพิจารณาในชั้นวุฒิสภาสามวาระ
• 2 เม.ย. 2567 วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในวาระหนึ่ง
• ขั้นต่อไป การพิจารณารายละเอียดในชั้นกรรมาธิการ หากกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ จะต้องส่งเข้ามาให้วุฒิสภาพิจารณาลงมติรายมาตราในวาระสอง ตามด้วยการลงมติเห็นชอบทั้งฉบับในวาระสามทั้งนี้ วุฒิสภา ไม่มีอำนาจ ‘ปัดตก’ หรือทำให้ร่างกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้วหายไปได้
เมื่อ สว. พิจารณาร่างกฎหมายแล้วสามารถลงมติได้สามกรณี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 137 คือ เห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และแก้ไขเพิ่มเติม
• ล่าสุด กรรมาธิการวุฒิสภามีการประชุมเรื่องนี้แล้วเสร็จ และเตรียมเปิดประชุมวุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือ “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม”
รัฐบาลตั้งเป้าเป็นเจ้าภาพ Pride Month ในปี 2030
เปิดเงื่อนไขการเป็นเจ้าภาพ World Pride สำหรับประเทศที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ Inter Pride ดังนี้
1. ต้องเป็นองค์กรที่จัดงานไพรด์แบบจริงจังและเป็นทางการในพื้นที่สาธารณะ ไม่นับรวมออนไลน์
อย่างน้อย 3 ปี
2. เข้าร่วมการประชุมประจำปี 2 ใน 3 ปีล่าสุด โดยต้องเข้าร่วมงาน World pride 1 ครั้ง
3. ขณะที่การดำเนินกิจกรรม หรือจัดงานต้องอยู่ในสถานะไม่ขาดทุนและต้องจัดงาน 3 ปี ภายหลังจากได้รับการพิจารณาจากสมาชิก ที่สำคัญคือองค์กรผู้สมัครต้องเข้าร่วมกับการประชุมประจำปีในตอนที่การเสนอตัวถูกพิจารณา
ทั้งนี้ หากรัฐบาลต้องการเป็นเจ้าภาพ World Pride 2030 ไทยจะต้องทำให้ทั่วโลกเห็นถึงความพร้อมของ Pride Community ที่มีความเข้มแข็ง ทำให้เห็นว่าไทยมีรัฐบาลที่มีนโยบายที่โอบรับความหลากหลาย
มีกฎหมายที่ให้สิทธิความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะช่วงเวลาสำคัญคือในปี 2026 ไทยต้องมีภาพจำที่ทำให้ Inter Pride เชื่อมั่นในศักยภาพ ก่อนจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ Wolrd Pride 2030 ในที่ประชุม Inter Pride 2026
ประเทศไทย ถือว่ามีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งอุตสาหกรรมความบันเทิง เช่น ซีรีส์วาย, แดร็กโชว์, ธุรกิจความงาม, เทคโนโลยีทางการแพทย์สำหรับกลุ่ม LGBTQIAN+ และเป็นพื้นที่ปลอดภัยเพื่อให้กำลังใจ เรียนรู้ความหลากหลายทางเพศ รวมถึงเป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อการแสดงออกด้านอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นการกระตุ้น
การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจให้หมุนเวียนในประเทศ รวมไปถึงการผลักวาระของ Rainbow Pop เพื่อเป็น Soft Power ของไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งจะถูกสะท้อนผ่านขบวนบางกอกไพรด์ และอีกกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศในปีนี้ด้วย ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจากความคาดหวังต่องานในครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นคุณภาพชีวิตของกลุ่ม LGBTQIAN+
ที่จะได้รับการคุ้มครอง และการสนับสนุนภายใต้กฎหมายที่ให้สิทธิ เสรีภาพ ที่เท่าเทียมกันของคนในประเทศ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของผู้คนทั่วโลกที่ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|