กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วม อย. สสจ.นครปฐม และปศุสัตว์ จ.นครปฐม ตัดวงจรยาสัตว์เถื่อน ทลาย 2 เครือข่ายผลิต จำหน่าย และนำเข้า มูลค่ากว่า 84 ล้านบาท
สืบเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ให้ทำการตรวจสอบการลักลอบผลิตยาสัตว์ สถานที่เก็บ และร้านจำหน่ายยาสัตว์เถื่อน ซึ่งหากนำมาใช้กับสัตว์อาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ส่งผลให้มีอายุขัยเฉลี่ยน้อยลงกว่าวัยอันควร เกิดภาวะช็อก หรืออาจเสียชีวิต อีกทั้งแม้ยาดังกล่าวไม่มีผลโดยตรงกับมนุษย์แต่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือแพ้ได้ โดยเมื่อ เดือนเมษายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้กวาดล้างแหล่งผลิตและจำหน่ายยาหยอดเห็บหมัดสัตว์เถื่อน ตรวจยึดของกลางกว่า 40,450 ชิ้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบการจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาด จึงเป็นที่มาของการระดมกวาดล้างเครือข่ายผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้นำเข้าจากต่างประเทศในครั้งนี้ จำนวน 2 เครือข่าย ในพื้นที่ จ.นครปฐม และ จ.สมุทรสาคร รายละเอียดดังนี้
1. เครือข่ายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนหาข่าวจนทราบถึงกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิต สถานที่จัดเก็บ สถานที่จำหน่าย ซึ่งอยู่ในพื้นที่ จ.นครปฐม ต่อมาได้นำหมายค้นเข้าตรวจค้นสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 จุด ได้แก่พื้นที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม, อ.ดอนตูม จ.นครปฐม และ อ.สามพราน จ.นครปฐม
ตรวจยึดอุปกรณ์สำหรับผลิต และ ผลิตภัณฑ์ยาสัตว์ไม่มีทะเบียนรวมกว่า 112 รายการ เช่น กลุ่มยาถ่ายพยาธิ (Anthelmintics) จำนวน 33 รายการ เช่น ยา Ivermectin 6000 mcg, Ivermec F, En-dex® 4000, KILLER WORM เป็นต้น กลุ่มยาฮอร์โมน (Hormones) จำนวน 3 รายการ เช่น PROTECTER ยาคุมกำเนิดสำหรับสุนัขและแมว, CO-THAI (Estrogen Implant) และ OXYTOCIN พบยาฮอร์โมนแบบฝังและฉีด หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีคุณภาพและนำไปใช้ในสัตว์บริโภค กลุ่มยาสเตียรอยด์ (Steroids) จำนวน 3 รายการ เช่น DEXON-A , Dexazin 2% และ DEXACIN® - A พบยาต้านการอักเสบ หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีคุณภาพ และนำไปใช้ในสัตว์บริโภค อาจทำให้มนุษย์ได้รับสเตียรอยด์ จนก่อให้เกิดโรค เช่น กระดูกพรุน เกิดหนอกที่คอ กระเพาะทะลุ กลุ่มยาต้านแบคทีเรีย (antibiotics) จำนวน 31 รายการ เช่น ENRO-200, Chloramphenicol, AMOXY 10%, PENSTREP เป็นต้น
จากการสืบสวนพบว่ากลุ่มเครือข่ายดังกล่าว เป็นกลุ่มเครือข่ายที่เคยถูก เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับ อย. ดำเนินคดีมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2563 โดยพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่ อ.กำแพงแสน โดยเมื่อผลิตเสร็จแล้ว สินค้าจะถูกนำไปจำหน่ายในพื้นที่ อ.กำแพงแสน อ.ดอนตูม อ.สามพราน และกระจายตามร้านเพ็ทช็อป และผ่านช่องทางออนไลน์ไปทั่วประเทศ
2. เครือข่ายผู้นำเข้าจากต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนจนทราบถึงกลุ่มเครือข่ายผู้กระทำผิด สถานที่จัดเก็บ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยตรวจค้นจัดเก็บสินค้าและจำหน่าย โกดังในพื้นที่ ต.บางน้ำจืด อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยาสัตว์ไม่มีทะเบียน ดังนี้
ใช้สำหรับรักษาการติดหมัดในสุนัข/ป้องกันการติดพยาธิตัวตืดผ่านทางหมัด เช่น NexGard, FLURALANER BRAVECTO ใช้สำหรับรักษาการติดหมัดและเห็บในสุนัข NexGard SPECTRA ถูกตรวจยึดของกลาง ทั้งสิ้น 6,270 กล่อง มูลค่าประมาณ 4,841,200 บาท
จากการสืบสวน พบว่า เครือข่ายผู้นำเข้าดังกล่าวมีกลุ่มนายทุนชาวจีนเป็นผู้ดำเนินการ โดยนำเข้าสินค้ามาจากประเทศจีน และส่งสินค้าให้ลูกค้าในประเทศไทยโดยทำมาแล้วประมาณ 4 เดือน ยอดขายเดือนละ 500 กล่องโดยเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย เดือนละ 300,000 บาท
รวมตรวจค้น 4 จุด ตรวจยึดยาไม่ขึ้นทะเบียนตำรับ กว่า 222,360 ชิ้น มูลค่าความเสียหายกว่า 84,841,200 บาท ผลิตภัณฑ์ยาและวัตถุอันตรายที่ตรวจยึดในครั้งนี้ พนักงานสอบสวน กก4 บก.ปคบ. นำส่งตรวจวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ ยืนยันผลตรวจวิเคราะห์อีกครั้งเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ผลปฏิบัติภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. และ พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปคบ.
ภาพ/ข่าว : ปคบ. เตือนภัยผู้บริโภค/ตำรวจสอบสวนกลาง
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|