หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
รวมกระทู้ทั้งหมด
เว็บบอร์ด » รวมกระทู้ทั้งหมด
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
“ไทย” เป็น 1 ใน 25 ประเทศที่มีปัญหาคุกคามทางเพศต่อเด็ก-เยาวชนในโลกไซเบอร์ ”ในระดับที่น่ากังวล“ พบคดีมากขึ้น 10เท่า!

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
“ไทย” เป็น 1 ใน 25 ประเทศที่มีปัญหาคุกคามทางเพศต่อเด็ก-เยาวชนในโลกไซเบอร์ ”ในระดับที่น่ากังวล“ พบคดีมากขึ้น 10เท่า!
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 26 ส.ค. 67 เวลา 20:59:56 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

การนำเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2567 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ด้านแรงงาน และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินชะลอตัว หนี้สินครัวเรือน (ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567) ขยายตัวในอัตราชะลอลงและคุณภาพสินเชื่อปรับลดลงต่อเนื่อง และการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ลดลง ขณะที่การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ได้แก่ 

(1) Festival Economy ขับเคลื่อนอย่างไรให้ปัง 

(2) ภัยร้ายในโลกเสมือน : การ

คุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนในโลกไซเบอร์ 

(3) Fast Fashion กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

รวมทั้งนำเสนอบทความเรื่อง “เตรียมตัวอย่างไรเพื่อรองรับการสมรสเท่าเทียม”

        สถานการณ์แรงงานไตรมาสสอง ปี 2567 ชะลอตัวลง จากการจ้างงานที่ลดลงต่อเนื่องในภาคเกษตรกรรม ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวในทุกสาขา ทั้งนี้ ชั่วโมงการทํางานและค่าจ้างแรงงานค่อนข้างทรงตัวและอัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.07  ไตรมาสสอง ปี 2567 ผู้มีงานทํามีจํานวนทั้งสิ้น 39.5 ล้านคน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 0.4ซึ่งเป็นผลจากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่สาขานอกภาคเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 โดยสาขาการขนส่งและเก็บสินค้าปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 9.0 ขณะที่สาขาโรงแรมและภัตตาคารยังคงขยายตัวได้ดี

ที่ร้อยละ 4.9 มีปัจจัยสําคัญจากการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สาขาการผลิตปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การส่งออก ส่วนสาขาก่อสร้างขยายตัวชะลอลงตามการหดตัวของอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัย ชั่วโมงการทํางานค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 42.8 และ 46.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่ผู้ทํางานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ผู้ทํางานต่าระดับและผู้เสมือนว่างงาน ลดลงร้อยละ 19.8 และ 8.7 ตามลําดับ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 1.07 หรือมีผู้ว่างงานจํานวน 4.3 แสนคน 

       สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป 

1) การปรับตัวของแรงงานให้มีทักษะที่สอดคล้องกับทักษะที่จําเป็นในอนาคต โดยWEF ระบุว่า ภายในปี 2027 งานในภาคธุรกิจกว่าร้อยละ 42 จะถูกทดแทนด้วยระบบอัตโนมัติ ขณะที่ผลการสํารวจของไมโครซอฟต์ประเทศไทยร่วมกับ LinkedIn พบว่า ผู้บริหารไทยกว่าร้อยละ 74 ไม่ต้องการจ้างพนักงานที่ไม่มีทักษะทางด้าน AI 

2) ผลกระทบของการขาดสภาพคล่องของ SMEs และปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น

ต่อการจ้างงาน SMEs เป็นกลุ่มธุรกิจที่รองรับแรงงานไว้เป็นจํานวนมาก แต่ปัจจุบันประสบปัญหาสภาพคล่อง

โดยมีสัดส่วนหนี้เสีย (NPLs) ต่อสินเชื่อรวม ร้อยละ 7.2 ในไตรมาสสี่ ปี 2566 เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว อีกทั้ง ดัชนี

ต้นทุนของธุรกิจรายย่อย (Micro) และธุรกิจขนาดกลาง (Medium) ยังเพิ่มขึ้น อาจนําไปสู่การเลิกจ้างแรงงานได้

 3) ผลกระทบของอุทกภัยต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของเกษตรกร โดยอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา

ส่งผลให้มีพื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหายแล้ว 308,238 ไร่ ขณะที่ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2567 คาดว่าประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ ซึ่งเสี่ยงที่ภาคเกษตรกรรมจะได้รับความเสียหายมากขึ้น และจะกระทบต่อรายได้ ต้นทุนการเพาะปลูก และความสามารถในการชําระหนี้ของเกษตรกร

หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ขยายตัวชะลอลง ขณะที่ความสามารถในการชําระหนี้ของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ ได้แก่ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มมีปัญหาการชําระหนี้คืน และการกู้นอกระบบที่หลากหลายและเข้าถึงง่ายอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัว  ไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.37 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.5 ชะลอลงจาก

ร้อยละ 3.0 ในไตรมาสก่อน และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ที่ร้อยละ 90.8 ลดลงจากร้อยละ 91.4 ในไตรมาสก่อน โดยหนี้ครัวเรือนขยายตัวชะลอลงเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ส่วนหนึ่งเกิดจากครัวเรือนมีภาระหนี้ในระดับสูง และคุณภาพสินเชื่อที่ปรับลดลง ทําให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อแก่ครัวเรือน ด้านคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์มีมูลค่า 1.63 แสนล้านบาท

คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.99 ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.88 ในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน นอกจากนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ ได้แก่

 1) การเร่งปรับโครงสร้างหนี้

ลูกหนี้บัตรเครดิตที่เริ่มมีปัญหาการชําระหนี้คืน หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับอัตราการจ่าย

บัตรเครดิตขั้นต่ าจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 ตั้งแต่รอบบัญชีเดือนมกราคม ปี 2567 ส่งผลให้ลูกหนี้บางส่วนไม่สามารถปรับตัวและมีปัญหาในการชําระคืน และ 2) รูปแบบการให้กู้ยืมนอกระบบที่หลากหลาย โดยเฉพาะที่ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ประกอบกับเงื่อนไขการเข้าถึงสินเชื่อที่ง่าย อาจนําไปสู่พฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวได้ง่าย  อีกทั้งมีความเสี่ยงการมีหนี้สินพ้นตัวจากอัตราดอกเบี้ยนอกระบบที่อยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กรุ่นใหม่  การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในไตรมาสสอง ปี 2567 เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องให้ความสําคัญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดที่พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย รวมทั้งโรค

หลอดเลือดสมองมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น  ไตรมาสสอง ปี 2567 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 จากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วยโรคที่มากับฤดูฝน ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ ขณะที่สถานการณ์สุขภาพจิตปรับตัวดีขึ้นโดยมีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ คือ

     1) การเจ็บป่วยด้วยโรคหอบหืดที่มีจ านวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     2) การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรีย

     3) โรคหลอดเลือดสมองมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในไตรมาสสอง ปี 2567 เพิ่มขึ้น โดยต้องปรับปรุงสื่อ

การรณรงรงค์ลดการบริโภคแอลกอฮอล์ เพื่อสร้างทัศคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื่มให้กับเด็กและเยาวชน รวมถึงต้องให้ความสําคัญกับการปราบปรามการลักลอบนําเข้าบุหรี่ไฟฟ้าที่มีจํานวนเพิ่มขึ้น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.2 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.9 จากการท่องเที่ยวช่วงเทศกาล นอกจากนี้ ยังมี

ประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ คือ 

     1) เด็กและเยาวชนไม่ตระหนักถึงสื่อประชาสัมพันธ์งดการดื่มแอลกอฮอล์ โดยปี 2566 แม้จะมีการประชาสัมพันธ์งดเหล้าอย่างต่อเนื่อง แต่กลับพบว่าเด็กและเยาวชนมีการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากปี 2565

     2) การเพิ่มขึ้นของการลักลอบนําเข้าบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในไตรมาสสอง ปี 2567 ชะลอตัว และมีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ คือ การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนโดยบุคลากรในสถานศึกษา การเฝ้าระวังการเล่นพนันกีฬาและความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างงานสาธารณะ

ไตรมาสสอง ปี 2567 คดีอาญารวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.7 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 เนื่องจาก

การเพิ่มขึ้นทั้งจากคดียาเสพติด คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศ 

      ด้านการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนน มีการรับแจ้งผู้ประสบภัยสะสมรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้บาดเจ็บสะสม ขณะที่ผู้เสียชีวิตสะสมและผู้ทุพพลภาพสะสมลดลง ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ ได้แก่ 

     1) การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนโดยบุคลากรในสถานศึกษา ข้อมูลจาก สพฐ. ปี 2566

พบกรณีความไม่ปลอดภัยของนักเรียนจ านวน 2,618 กรณี ซึ่งร้อยละ 8.6 เป็นภัยจากการถูกละเมิดสิทธิ อาทิ

การลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ อีกทั้ง ยังพบว่าครูมีการผลิตเนื้อหา (Content) เผยแพร่ลงสื่อโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับนักเรียน โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (PDPA) และมีความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 

     2) การเฝ้าระวังการเล่นพนันกีฬา โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลที่มีฤดูการแข่งขันตลอดทั้งปี ทําให้ไตรมาสสอง ปี 2567 มีคดีเพิ่มขึ้นสูงจากไตรมาสก่อนหน้าถึงร้อยละ 449.7

     3) ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการก่อสร้างงานสาธารณะ ในระหว่างปี 2561 - 2566 พบการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสะสมจากการก่อสร้างทางสาธารณะขนาดใหญ่ 2,249 ครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ วัสดุก่อสร้างร่วงหล่นทับ รถยนต์ตกร่องถนนที่กําลังก่อสร้างเนื่องจากไม่มีป้ายแจ้งเตือนการร้องเรียนผ่าน สคบ. และสํานักงาน กสทช. ลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามเกี่ยวกับการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ผู้ซื้อต้องถ่ายวิดีโอขณะเปิดพัสดุและความเสี่ยงจากการใช้บริการจํานํา iCloud

       ไตรมาสสอง ปี 2567 การร้องเรียนเกี่ยวกับผู้บริโภคในภาพรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 25.6 โดยการร้องเรียนสินค้าและบริการผ่าน สคบ. และสํานักงาน กสทช. ลดลงร้อยละ 26.5 และ 8.4

     อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ คือ 1) การผลักภาระให้กับผู้บริโภคกรณีซื้อสินค้าออนไลน์ที่ผู้ซื้อต้องถ่ายวิดีโอขณะเปิดพัสดุ กว่าร้อยละ 42.4 ของเรื่องร้องเรียนด้านสินค้าและบริการทั่วไปเป็นปัญหาจากการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยหนึ่งในปัญหาสําคัญที่พบ คือ ปัญหาสินค้าชํารุด/ไม่ตรงปก ซึ่งร้านค้ามักไม่รับผิดชอบหากไม่มีคลิปวิดีโอขณะเปิดพัสดุ และ 2) ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้บริการจํานํา iCloud ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการถูกน าข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หาผลประโยชน์อื่น นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการยังอาจต้องจ่ายดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกําหนดอีกด้วย

Festival Economy ขับเคลื่อนอย่างไรให้ปัง

การให้ความสนใจกับการทํากิจกรรมที่ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์มากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมที่มีลักษณะเป็น

เทศกาลมีการพัฒนาและมีรูปแบบที่หลากหลาย ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2567การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมซึ่งรวมถึงเทศกาล คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดทั่วโลก 1.63 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเพิ่มสูงกว่า 1.5 เท่า ภายใน 10 ปี นอกจากนี้ เทศกาลยังสร้างประโยชน์ในด้านอื่น ทั้งสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่จัดงาน เผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น และเอื้อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ ซึ่งจากประโยชน์ดังกล่าว ทําให้หลายประเทศใช้เทศกาลเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Festival Economy) เช่นเดียวกับประเทศไทยที่มีความพยายามผลักดันและยกระดับเทศกาล ภายใต้การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการจัดงานเทศกาล

       อย่างไรก็ตาม การจัดกิจกรรมเทศกาลของไทยที่ผ่านมา พบว่า เทศกาลขนาดใหญ่มีไม่มาก ส่วนใหญ่

มีผู้เข้าร่วมน้อย และมีการเชื่อมโยงกับท้องถิ่นจํากัด รวมทั้งยังมีข้อจํากัด อาทิ การจราจรติดขัด ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น จุดบริการต่าง ๆ ไม่เพียงพอ และการก่ออาชญากรรม ซึ่งจากการจัดเทศกาลระดับโลกที่ประสบความสําเร็จมีข้อค้นพบและแนวทางจัดการปัญหาที่ไทยสามารถนํามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทได้ ดังนี้

1) การสร้างจุดขายของเทศกาลที่แตกต่างจากเทศกาลอื่นหรือที่อื่น ซึ่งทําได้โดยการดึงจุดแข็งของวัฒนธรรม

ที่เป็นเอกลักษณ์มาเป็นจุดขาย อาทิ เทศกาลริโอ คาร์นิวัล ของประเทศบราซิล ที่มีการน าการเต้นแซมบ้า มาผสมผสาน ทําให้มีเสน่ห์และโดดเด่นกว่าเทศกาลคาร์นิวัลประเทศอื่น อีกทั้ง ยังอาจเกิดจากการเพิ่มความคิดสร้างสรรค์หรือต่อยอด อาทิ เทศกาลปามะเขือเทศ ในประเทศสเปน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากเหตุทะเลาะวิวาทที่มีการใช้มะเขือเทศปาใส่กัน 2) การยกระดับระบบความปลอดภัยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ร่วมงาน อาทิในช่วง เทศกาลริโอ คาร์นิวัล มีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเป็นมาตรการในการปกป้องและดูแลความปลอดภัยสตรีในช่วงเทศกาล เช่นเดียวกับเทศกาลปามะเขือเทศ ได้ออกมาตรการจํากัดจํานวนผู้เข้าร่วมและเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการนําเทคโนโลยีในการจัดงานมาใช้ เช่น การติดตั้งเทคโนโลยีตรวจจับ

อาวุธขั้นสูงในเทศกาลดนตรีฮิปฮอประดับโลกอย่าง Rolling Loud 3) การเตรียมสิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน อาทิ ประเทศเบลเยียมได้มีมาตรการรองรับสําหรับ เทศกาลดนตรี Tomorrowland ที่มีการเชื่อมโยงระบบขนส่ง ทั้งรถรับส่งจากสนามบินและรถไฟ ไปยังจุดจัดงาน การออกแพ็กเกจทริปที่รวมตั๋วเข้าร่วมงานตั๋วเครื่องบิน พร้อมโรงแรมที่พัก และสิ่งอ านวยความสะดวกอื่น ๆ เช่น ล็อกเกอร์ ห้องน้ํา สถานีชาร์จโทรศัพท์ ฯลฯ และการออกแบบโดยค๊านึงถึงผู้พิการ 4) การประชาสัมพันธ์งานเทศกาลและมีมาตรการส่งเสริมการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น เทศกาล Edinburgh Festival Fringe ของประเทศสกอตแลนด์ มีการรวบรวมข้อมูลและจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงลึกอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมาย และท าการตลาด รวมถึงยังอาศัยสื่อโซเชียลมีเดียประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง 5) การสนับสนุนจากภาครัฐและการบูรณาการความร่วมกับเอกชนและหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งจะต้องกระจายหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม อาทิ เทศกาลโคลน ของประเทศ

เกาหลีใต้ หน่วยงานท้องถิ่นจัดกิจกรรมที่ใช้ประโยชน์จากโคลน ส่วนภาคการศึกษาช่วยปรับแผนพัฒนา

เชิงวัฒนธรรมให้ดึงดูดนักท่องเที่ยว และ 6) การจัดการกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการจัดเทศกาล เทศกาลดนตรีและศิลปะระดับโลก Coachella ที่จัดขึ้นในสหรัฐอเมริกา ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมงานลดปริมาณขยะ โดยให้นําขวดเปล่ามาแลกน้ าหรือของที่ระลึกอื่น ๆ

ภัยร้ายในโลกเสมือน : การคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนในโลกไซเบอร์   

การคุกคามทางเพศเด็กและเยาวชนออนไลน์ที่เกิดขึ้นผ่านโซเชียลมีเดียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อเด็กผู้ถูกกระทําหลายด้าน อาทิ ปัญหาด้านการปรับตัวเข้าสู่สังคม ความวิตกกังวล ความเครียด และ

ภาวะซึมเศร้า รวมถึงปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นหลังได้รับผลกระทบทางจิตใจ ซึ่งจากรายงานของ ECPAT

International องค์กรภายใต้ UNICEF ระบุว่า ปี 2567 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 25 ประเทศที่มีปัญหาการคุกคามทางเพศต่อเด็กและเยาวชนทางออนไลน์ในระดับที่น่ากังวล เช่นเดียวกับคดีเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็กและเยาวชนออนไลน์ของสํานักงานต ารวจแห่งชาติ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 48 คดีในปี 2560 เป็น 540 คดี ในปี 2566 โดยการคุกคามทางเพศออนไลน์ที่เกิดขึ้นต่อเด็กมีอยู่หลายระดับ คือ 1) ระดับเบื้องต้น (Low-level Harassment) มักเป็นการคุกคามประเภทผู้กระทํามักไม่คิดว่าเป็นการคุกคามต่อผู้ถูกกระทํา ได้แก่ การก่อกวน โดยวิธีการแสดงความคิดเห็นที่ใช้ถ้อยคําโดยไม่ได้เจาะจงเป็นรายบุคคล อาทิ กลุ่มโลลิค่อน ที่มีการคอมเมนต์เนื้อหาที่มีนัยทางเพศแก่เด็กนักเรียน 2) ระดับปานกลาง (Moderate-level Harassment) มุ่งเน้นการกระทําซ้ําและก่อให้เกิดความเครียดทางอารมณ์ให้กับเหยื่อรายบุคคล โดยมาในรูปแบบการก่อกวนต่อเนื่อง การดูหมิ่นทางเพศ

เพื่อท าให้เกิดความอับอาย รวมถึงการเริ่มเข้าไปลุกล้ าความเป็นส่วนตัว และ 3) ระดับสูง (Severe/High-levelHarassment) เป็นการคุกคามโดยพฤติกรรมที่รุนแรง และก้าวร้าว ทําให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์

และจิตใจ ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงที่บ่งบอกถึงการท าผิดกฎหมายการล่วงละเมิดทางเพศอย่างชัดเจน อาทิ

การล่อลวงนักเรียนอายุ 17 ปี ด้วยการสร้างสัมพันธ์เชิงชู้สาว ก่อนที่จะท าการรับเหยื่อมากระท าอนาจารพร้อมทั้งถ่ายคลิป และน าไปแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการเก็บค่าสมาชิกส าหรับการเข้ารับชม จะเห็นได้ว่าการคุกคามทางเพศออนไลน์เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ และในบางกรณีผู้กระท าอาจไม่ได้ คํานึงถึงผลกระทบต่อผู้ถูกกระทําเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งเกิดจากการพบเห็นการกระท าดังกล่าวเกิดขึ้นในชีวิตประจําวันอาทิ ในสื่อต่าง ๆ อีกทั้ง การขาดความรู้ถึงเรื่องสิทธิของเด็กและผู้ปกครอง และการไม่ทราบช่องทางการช่วยเหลือ

จากรายงานของ UNICEF ปี 2565 พบว่า เด็กและเยาวชน ร้อยละ 47 ไม่ทราบถึงช่องทางการช่วยเหลือ

หากตนเองหรือเพื่อนถูกล่วงละเมิด/คุกคามทางเพศออนไลน์ ซึ่งบางส่วนมองว่าตนไม่ใช่ผู้เสียหาย รวมถึงเด็กและเยาวชนบางส่วนมีความรู้สึกอับอายไม่กล้าเปิดเผยข้อมูล ส่งผลให้การแจ้งความดำเนินคดีที่น้อยกว่าความเป็นจริงสถานการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทยจ าเป็นต้องหามาตรการป้องกัน และแก้ไขอย่างจริงจัง ได้แก่ 1) สร้างทัศนคติในการป้องกันการเพิกเฉยต่อการคุกคามทางเพศ โดยเริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวที่จะต้องสอดส่องดูแลพฤติกรรมการใช้สื่อ ในขณะที่ระดับชุมชนและภาครัฐจะต้องมีมาตรการในการลงโทษที่ชัดเจน 2) การให้ความรู้ด้านสิทธิและความเสี่ยงจากการถูกคุกคามทางเพศออนไลน์ โดยสถาบันการศึกษาและชุมชน และ 3) สร้างความตระหนักรู้เท่าทันภัยคุกคามดิจิทัล เนื่องจากการคุกคามทางเพศเด็กออนไลน์มีรูปแบบใหม่และเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา 

ดังนั้น ครอบครัวควรให้ความรู้เกี่ยวกับการไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลขณะที่สถานบันการศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับการล่อลวงทางเพศให้เป็นความรู้พื้นฐานหรือเป็นหลักสูตรFast Fashion กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธุรกิจ Fast Fashion เติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างงานให้กับผู้คนทั่วโลกเป็นจ านวนมาก แต่กระบวนการผลิตในหลายขั้นตอนกลับส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยในด้านสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบที่สําคัญ คือ

1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 10 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั่วโลก สูงกว่าอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งทางเรือรวมกัน และคาดว่าภายในปี 2573อาจเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 2) การใช้น ้าเป็นจ้านวนมาก และมลภาวะทางน้ำและอากาศที่มาจากกระบวนการย้อมและตกแต่ง การผลิตเสื้อเชิ้ตฝ้ายหนึ่งตัวต้องใช้น้ าถึง 2,700 ลิตร เทียบเท่ากับปริมาณที่ 1 คน ดื่มได้กว่า2.5 ปี อีกทั้ง กระบวนการย้อมและตกแต่ง ยังสร้างมลภาวะทางน้ าสูงมาก จากการใช้สารเคมีที่เป็นพิษและอันตรายในการผลิต 3) การเพิ่มขึ นของขยะที่ย่อยสลายยาก ซึ่งเสื้อผ้าราว 1 แสนล้านตัวที่ผลิตขึ้นในแต่ละปีทั่วโลก กลายเป็นขยะในหลุมฝังกลบกว่า 92 ล้านตัน และคาดว่าภายปี 2576 ขยะเสื้อผ้าจะเพิ่มเป็น 134 ล้านตันต่อปี โดยมีเพียง

ร้อยละ 1 ที่สามารถน ากลับมารีไซเคิลได้ นอกจากนี้ เสื้อผ้ามีส่วนประกอบของขยะพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยาก อย่างไมโครพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และ 4) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและธรรมชาติที่เสื่อมโทรม โดยเฉพาะในกระบวนการปลูกวัตถุดิบ อาทิ การปลูกฝ้าย ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลง และสารก าจัดวัชพืชปริมาณมาก ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสื่อมโทรมของหน้าดิน ขณะที่ในด้านสังคมมีผลกระทบ คือ 1) การสร้างวัฒนธรรมการบริโภคเกินพอดี ที่ไม่ได้ส่งผลแค่ปริมาณขยะที่เพิ่มสูงขึ้น ยังท าให้คนไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของการซื้อสินค้า จากการโฆษณาส่งเสริมการขาย

ที่กระตุ้นให้คนซื้อมากกว่าความจ าเป็น และการทําให้ค่านิยมเปลี่ยน อาทิ การขายไลฟ์สไตล์ของ Influencer 2)ปัญหาสุขภาพ สินค้า Fast Fashion มักมีการปนเปื้อนของสารเคมี โดยเฉพาะไมโครพลาสติก ที่สามารถสะสมในร่างกายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ทั้งต่อผู้สวมใส่และรุนแรงขึ้นต่อกลุ่มแรงงานที่ท างานในภาคการผลิตดังกล่าว 3) การละเมิดลิขสิทธิ์ เกิดขึ้นได้ง่ายและบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการคัดลอกดีไซน์ของแบรนด์หรูหรือดีไซเนอร์ชื่อดังมาผลิตสินค้าเลียนแบบในราคาที่ถูกกว่า และ 4) การละเมิดสิทธิแรงงาน จากการพยายามควบคุมต้นทุน

การผลิต จึงมักลดต้นทุนด้านแรงงานด้วยการละเมิดสิทธิแรงงาน ทั้งการใช้งานเกินเวลา การล่วงละเมิดทางเพศการใช้แรงงานเด็กแบบผิดกฎหมาย ซึ่งมักพบในประเทศที่เป็นฐานการผลิตในเอเชีย  จากผลกระทบของ Fast Fashion ที่ได้กล่าวมานี้ ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลก เริ่มตระหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกมาตรการรับมือและก ากับควบคุมผลกระทบ ซึ่งประเทศไทยอาจต้องดําเนินการเพื่อป้องกันและ

ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น อาทิ 1) การสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอปรับตัวให้สอดรับกับกระแส Sustainable Fashion และ Textile Recycling ที่ต้องลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อาทิ การมีมาตรการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและยกระดับสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

2) การส่งเสริมให้มีการคัดแยกและจัดเก็บข้อมูลขยะประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะขยะสิ่งทอ เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในอนาคต และ 3) การก ากับดูแลการโฆษณา/การตลาดที่ส่งเสริมการขายสินค้า Fast Fashion ที่ไม่ค านึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยการก าหนดเงื่อนไขการโฆษณาอย่างเหมาะสม อาทิ การให้ข้อมูลรายละเอียดการผลิต/กระบวนการผลิต ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนมีการสร้างความตระหนักให้แก่ผู้บริโภคควบคู่ไปด้วย เตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อรองรับการสมรสเท่าเทียม  เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 วุฒิได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. … หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้รับการประกาศและมีผลบังคับใช้จะทําให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิตามกฎหมาย ประกอบด้วย 1) สิทธิในการตั้งครอบครัว 2) สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน 3) สิทธิทางทรัพย์สินและมรดก และ 4) สิทธิในการดูแลระหว่างคู่ชีวิต การปรับเปลี่ยนสถานะดังกล่าว ยังเชื่อมโยงถึงสิทธิตามกฎหมายอื่นที่ได้เพิ่มขึ้นมาจากสวัสดิการข้าราชการ อาทิ สิทธิในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สิทธิได้รับเงินบ าเหน็จตกทอด ขณะที่ สวัสดิการลูกจ้างภาคเอกชน คู่สมรสซึ่งมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิที่จะได้รับเงินบําเหน็จชราภาพ เงินสงเคราะห์จากกองทุนประกันสังคม และเงินค่าท าศพหากเป็น

ผู้ด าเนินการจัดการศพ รวมทั้งเป็นผู้รับประโยชน์จากการท าประกันชีวิตได้

    นอกจากนี้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ยังมีส่วนช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสมรส

จากการศึกษาของ The William Institute สหรัฐอเมริกา พบว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียม สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส าหรับประเทศไทย ข้อมูลของ Ipsos ปี 2566 คาดว่า ไทยอาจมีประชากร LGBTQ+ วัยผู้ใหญ่ ประมาณร้อยละ 9 หรือคิดเป็นจ านวนกว่า 4.4 ล้านคน ซึ่งหากในจํานวนนี้ มีการสมรสในอัตราเดียวกับการจดทะเบียนสมรสระหว่างชายหญิง อาจส่งผลให้ในแต่ละปีมีการจัดงานแต่งงาน เพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 หมื่นงาน หรือสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึงปีละ 1.7 พันล้านบาท และเป็นโอกาสในการเติบโตของหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อและการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน อีกทั้ง ยังส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางด้านสังคม เช่น ความมั่นคงของความสัมพันธ์ภายในครอบครัวจากการมีหลักประกันของการใช้ชีวิตคู่ และ การรับบุตรบุญธรรมอาจมีส่วนช่วยลดปัญหาเด็กโตนอกบ้านได้

    อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องเตรียมความพร้อมและดําเนินการภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ คือ

1) การทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการเตรียมความพร้อมในการด าเนินงานของภาครัฐ จากการแก้ไขที่ระบุให้บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกําหนด ข้อบัญญัติ ประกาศ คําสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่มีการอ้างถึงคําว่า “สามี” “ภริยา” ให้ถือว่าอ้างถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสตาม

ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ซึ่งจะท าให้มีกฎหมาย 51 ฉบับ ที่ต้องได้รับการทบทวน อีกทั้ง รัฐจะต้องเตรียมความพร้อมด้านทะเบียน เอกสาร ใบส าคัญต่าง ๆ เกี่ยวข้อง 2) การพิจารณาประเด็นเชื่อมโยงที่เป็นผลสืบเนื่องจากสิทธิที่คู่รักเพศหลากหลายได้รับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม ที่ยังคงถูกจ ากัดสิทธิ

ค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียน แต่ยังคงได้รับสิทธิจากพ่อแม่ผู้ให้ก๊าเนิด ซึ่งในบางครั้งไม่สามารถติดตามตัวได้ทําให้เด็กไม่ได้รับสิทธิและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่บุญธรรม จึงอาจต้องพิจารณา เพื่อให้ผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถให้สิทธิแก่บุตรบุญธรรมได้ 3) การเตรียมความพร้อมทางธุรกิจเพื่อรองรับกลุ่มคนเพศหลากหลายต้องมีการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มนี้ เพื่อเตรียมกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งด้านสินค้าและบริการ และเป็นการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ชีวิตมากขึ้น อาทิ คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย และ 4) การสร้างความเข้าใจถึงความหลากหลายทางเพศให้กับสังคม ต้องมีการสร้างความเข้าใจ การเคารพต่อสิทธิ และความเห็นของแต่ละฝ่าย รวมทั้งต้องร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในครอบครัวLGBTQ+ และอาจต้องมีการปรับปรุงวิถีปฏิบัติ อาทิ กิจกรรมงานวันพ่อ/แม่ และ 5) การเตรียมความพร้อมของงบประมาณ เพื่อรองรับการได้รับสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอาจมีค่าใช้จ่ายการเบิกค่ารักษาพยาบาลของคู่สมรสข้าราชการมากขึ้น และการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง จากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของคู่สมรสและของบิดามารดาคู่สมรส

อ่านเพิ่มเติม>> http://bit.ly/35AJAV7

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 230

แสดงความคิดเห็น โดย คนข่าว IP: Hide ip , วันที่ 26 ส.ค. 67 เวลา 20:59:56
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี