กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสื่อสารมวลชน สสส. กล่าวว่า ยาสูบยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดี ข้อมูลรายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทยปี 2562 พบว่า การสูบบุหรี่/ยาสูบเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตในประชากรไทย 15.6% เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุด 22,561 คน คิดเป็น 26.1% ที่น่าห่วงคือแนวโน้มการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทยปี 2565 พบว่า สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นจาก 3.3% เป็น 17.6% หรือเพิ่มขึ้น 5.3 เท่าจากปี 2558 จากข้อมูลรายจ่ายครัวเรือนไทยปี 2566 พบว่า ส่วนใหญ่เป็นค่าอุปโภคบริโภคถึง 87% รายจ่ายสูงสุด คือ อาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ คิดเป็น 35.5% โดยเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้น้อย มีค่าใช้จ่ายการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่าครอบครัวรายได้สูงถึง 6 เท่า และใช้เงิน 21.5%ของรายได้ไปกับการสูบบุหรี่ ทำให้เหลือเงินสำหรับใช้จ่ายด้านอื่นที่จำเป็นน้อยลงก่อให้เกิดหนี้สินเพิ่มขึ้น
นางสาวพลอยชนก แสนอาทิตย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนใน กทม. จำนวน 400 ตัวอย่าง อายุระหว่าง 13-24 ปี ซึ่งเป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า 56.5% ได้รับเงินจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง 87.75% มีรายได้ระหว่าง 500-2,000 บาท/สัปดาห์ สำหรับเงินที่นำมาซื้อบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ 54.50% ได้จากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ใช้เงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเฉลี่ยสูงถึงปีละ 26,944 บาท หรือเดือนละ 2,245 บาท 73% ใช้เงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้า 501-1,000 บาท/สัปดาห์ นอกจากนี้ ยังพบว่า การที่หน่วยงานหรือองค์กรที่มีหน้าที่กำกับกิจการภาพยนตร์หรือละครทางโทรทัศน์หรือสื่อสังคมออนไลน์ปล่อยให้มีตัวละครในภาพยนตร์หรือผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์สูบบุหรี่ไฟฟ้า จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากถึงมากที่สุด 16.25% และปานกลาง 38.25% เมื่อรวมกันแล้วคิดเป็น 54.50% ตอกย้ำได้ว่า สื่อบุคคลอย่างผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์หรือตัวละครในภาพยนตร์มีผลต่อการตัดสินใจของเด็กและเยาวชนจริง ๆ
ด้านนายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่า จากผลวิจัยถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจของสังคมไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ไทยกำลังเผชิญสภาวะทางเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางและอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ต้องยอมรับว่าเด็กและเยาวชนระดับมัธยมศึกษาหรืออุดมศึกษายังไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวหรือผู้ปกครอง การที่เด็กและเยาวชนสูญเสียเงินซื้อบุหรี่ไฟฟ้าเฉลี่ยเดือนละ 2,245 บาท หากนำเงินจำนวนนี้มาออมหรือลงทุนทุกเดือน 30 ปี (360 เดือน) และมีอัตราผลตอบแทนการฝากเงินหรือลงทุนรวมกันประมาณ 5% ต่อปี จากการคำนวณผ่านโปรแกรมคำนวณเงินออมของธนาคารแห่งประเทศไทย จะทำให้มีผลตอบแทนรวมกับเงินต้นที่ออมหรือลงทุนสูงถึง 1,879,355 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 808,200 บาท และดอกเบี้ยหรือผลกำไร 1,071,155 บาท
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|