• หมอโรคติดเชื้อ คณะแพทย์ มช. เผย เชื้อลีเจียนแนร์ ต้นตอของโรคปอดอักเสบจากเชื้อลีเจียนแนร์ พบได้ในเครื่องปรับอากาศ-อ่างน้ำร้อน |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 10 ก.พ. 68 เวลา 13:40:48 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
อาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เผย โรคปอดอักเสบจากเชื้อลีเจียนแนร์ เกิดจากการติดเชื้อลีเจียนแนร์ พบได้ในเครื่องปรับอากาศและระบบน้ำ หลังสัมผัสเชื้อ ผู้ป่วยมักมีไข้ ไอ และหายใจลำบาก แนะวิธีป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อ และรักษาความสะอาดของระบบน้ำในบ้านและอาคาร
อ.พญ.สายขวัญ โตวชิราภรณ์ อาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “โรคปอดอักเสบจากเชื้อลีเจียนแนร์ (Legionellosis) เกิดจากการติดเชื้อของแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ลีเจียนแนร์ เป็นเชื้อที่พบได้บ่อยในระบบน้ำ เช่น เครื่องปรับอากาศ อ่างน้ำร้อน ซาวน่า และน้ำพุที่ใช้ในการตกแต่ง ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงมาก โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ ไอ หายใจลำบาก ซึ่งจะมีอาการหลังจากการสัมผัสน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อประมาณ 2 ถึง 10 วัน ซึ่งผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการหายจากโรค โดยแพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะอย่าง Azithromycin หรือ Levofloxacin ซึ่งจะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับการติดเชื้อ Legionella ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น การสูบบุหรี่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง หรือโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือได้รับยาเคมีบำบัด ซึ่งการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากเชื้อลีเจียนแนร์ สามารถทำได้โดยการตรวจเชื้อ Legionella ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงรับเชื้อข้างต้น ร่วมกับมีอาการของโรคปอดอักเสบ โดยการทดสอบหลักที่ใช้ ได้แก่ การตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการวินิจฉัย มีความแม่นยำในการตรวจสูง โดยทดสอบจากตัวอย่างทางเดินหายใจ เช่น เสมหะหรือน้ำล้างปอด , การทดสอบแอนติเจนของเชื้อในปัสสาวะ มักจะตรวจในกรณีที่ไม่สามารถส่งตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อได้ อาจใช้การทดสอบแอนติเจนของเชื้อแทน และการเพาะเชื้อ วิธีนี้จะทำได้ค่อนข้างยาก ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เนื่องจากต้องใช้วิธีเพาะเชื้อแบบพิเศษ
ขณะเดียวกันอาจารย์ประจำหน่วยวิชาโรคติดเชื้อและเวชศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้เน้นย้ำถึงแนวทางการป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวว่า ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำที่อาจมีเชื้อ คือ หลีกเลี่ยงการสูดดมละอองน้ำที่อาจมีเชื้อ Legionella ซึ่งสามารถพบได้ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง , ดูแลระบบน้ำและการระบายอากาศ ควรรักษาความสะอาดและทำความสะอาดระบบน้ำในอาคาร รวมถึงการเปลี่ยนท่อน้ำหรือท่อระบายที่เก่าหรือชำรุด และระวังการสัมผัสกับปุ๋ยหมักและดิน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสวน ควรระมัดระวังการสูดดมละอองจากดิน หรือปุ๋ยหมัก ที่อาจมีเชื้อ โดยควรสวมถุงมือและหน้ากากอนามัย เมื่อทำงานในสวนหรือสัมผัสกับปุ๋ยหมัก และล้างมือให้สะอาดหลังจากการทำสวน เพื่อป้องกันการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
เรียบเรียง : นางสาวสมัชญา หน่อหล้า ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 340 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 10 ก.พ. 68
เวลา 13:40:48
|