• วิพากษ์การเมืองใหม่ของพันธมิตร |
โพสต์โดย pee2525@hotmail.com , วันที่ 26 ก.ค. 51 เวลา 12:19:54 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ที่มาแห่งกระทู้นี้เกิดจากผมโดนด่าโดย คห.15ในกระทู้ที่ 30656 ซึ่งเป็นกระทู้ที่มีคนเข้าไปอ่านสูงเกิน1000คนแล้ว ที่ออกความเห็นเรื่องการแก้ไขการเมืองไว้ และ คห.15 กล่าวหาว่า ผมเอาคำพูดของคุณสนธิมาขยายความต่อ จึงเป็นเหตุให้เข้าไปหาข้อมูลในเวปไซด์ผู้จัดการว่าคุณสนธิได้พูดไว้ในทำนองเดียวกับที่ผมเสนอความเห็นจริงๆหรือ แต่ไม่พบ .....ที่พบคือมีการนำเสนอ การเมืองใหม่ หลังจากได้อ่านแล้วมีคำถามกับตัวเองมากมายจึงขอเอามาวิพากษ์ดังนี้
บทเกริ่นนำถึงวิธีคิดทางการเมืองใหม่ ค่อนข้างเป็นนามธรรมมาก วิธีคิดเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยอริสโตเติ้ล เป็นวิธีคิดการเมืองการปกครองเชิงคตินิยม ซึ่งคนที่เรียนรัฐศาสตร์มาเรียกว่า การเมืองอุดมคติ ซึ่งใครๆก็อยากให้เป็นเช่นนั้น
หลังจากอริสโตเติ้ลเสนอแนวคิดแล้วก็มีปราชญ์ทางการปกครองหลายต่อหลายคนต้องการทำให้เกิดผลในทางปฎิบัติ ซึ่งก็ออกมาและพัฒนาการมาเป็นระบบการประครอง ที่เรารับรู้กันอยู่ ไม่ว่า คอมมิวนิสต์ สังคมนิยม ลัทธิมาร์คเลนิน ฟาสซิสต์ หรือประชาธิปไตย ซึ่งทุกระบบการปกครองต่างก็ต้องการให้ ทุกเชื้อชาติ ที่ประกอบรวมกันเป็นประเทศ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ด้วยกันทั้งนั้น แต่พอแปรมาเป็นภาคปฏิบัติ วิธีการอย่างเดียวกันได้ผลกับประเทศหนึ่งแต่พอเอามาใช้อีกประเทศหนึ่งกลับไม่ได้ผล
วิธีการสร้างการเมืองใหม่ของพันธมิตรแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
ระยะที่1.โค่นล้มระบอบทักษิณ เอารัฐบาลนอมินีออกไป เพิ่มอาวุธทางความคิดให้ประชาชน สร้างเครือข่ายเพื่อเอาชนะกลุ่มทุนทักษิณ
ระยะที่2.แบ่งออกเป็นภาครัฐกับภาคประชาชน
ภาครัฐ สร้างกลไกควบคุมใหม่ มีสภาประชาชน รัฐบาลประชาชน สร้างองค์การตรวจสอบ
ภาคประชาชน สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนทั้งในเมืองและนอกเมือง สร้างเสริมปัญญาความรู้ เพื่อให้มีพลังตรวจสอบ
ในส่วนวิธีการสร้างการเมืองใหม่ที่พันธมิตรเสนอนี้ ในวิธีคิดก็ผิดแล้ว การเสนอทฤษฏีในทางสากล ไม่ว่าสำนักใหนตำราใหนก็ตาม บอกไว้ในกฎเบื้องต้นว่า ผู้สร้างทฤษฎี ต้องไม่มีอคติ
แต่ทฤษฎีการเมืองใหม่ของพันธมิตร มีอคติ ตั้งแต่ต้น คือให้โค่นล้มระบบทักษิณ
ผมอยากจะถามพันธมิตรในจุดนี้ว่า ระบอบทักษิณ มีแต่ส่วนเลว ไม่มีส่วนดีที่จะเกิดประโยชน์ต่อระบอบการปกครองเลยหรือ ถ้าพันธมิตรตอบว่าใช่ ผมก็จะถามต่อว่า แล้วทำไมประชาชนจึงเทคะแนนให้กับทักษิณ หลังจากได้บริหารบ้านเมืองมา 1สมัยแล้ว มากมายขนาดนั้น หรือพันธมิตรคิดว่าประชาชนที่เลือกคือผู้ไม่รู้ ถ้าคิดเช่นนี้ผมว่า พันธมิตรผิดตั้งแต่หลักคิดแล้วและดูถูกความคิดของคนกลุ่มใหญ่
ในทางกลับกัน ลองมองอย่างเป็นกลางจริงๆว่า โดยปกติ การเมืองมี 2 ข้าง แล้วมีประชาชนเป็นกองเชียร์ พวกเขาจะเชียร์ใครมากกว่ากัน เขาจะดูว่าใครทำอะไรถูกใจมากกว่า อันนี้เป็นหลักคิดที่ใช้สามัญสำนึกตอบได้
ในขณะนั้น ฝ่ายรัฐบาลมีทักษิณเป็นผู้นำ ฝ่ายค้านมี บัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นผู้นำ ผมจำได้มีครั้งหนึ่ง รัฐบาลออกยุทธศาสตร์ AIR WAR ฝ่ายค้านออกยุทธศาสตร์ อีแต้นออกศึก ผลก็คือ ฝ่ายค้านโดนกรรมการคือประชาชนโห่ เพราะ มันเป็นยุทธศาสตร์แบบกระแนะกระแหน ไม่สร้างสรรเลย เป็นต้น ฝ่ายค้านขาดยุทธศาสตร์ที่จะมัดใจคนได้ ขนาดผมเลือกพรรคประชาธิปัติย์ตอนนั้น ยังเซ็งระเบิดเลย
การที่รัฐบาลทักษิณเข้มแข็งขนาดนั้น เป็นเพราะการประกบมวยไม่สมศักดิ์ศรี เอามวยเก่งไปสู้กับมวยปัญญาอ่อนหรือเปล่า ตรงนี้ผมว่าพันธมิตร ต้องตีโจทย์ให้แตก
แน่นอนครับ สิ่งที่ทักษิณทำ ผมไม่เห็นด้วยหลายอย่าง อาทิเช่น การวมพรรค รวมกลุ่มทุน โดยใช้อำนาจรัฐไปบีบทั้งทางตรงและทางอ้อม การออกหวย2-3ตัวแล้วอ้างว่า เพื่อการศึกษา ทั้งๆที่ใช้เพื่อการศึกษาน้อยมาก และส่วนใหญ่เอาไปเพื่อให้ สส.ไปสร้างคะแนนเสียง หรือ การสร้างค่านิยมในการหลีกเลี่ยงภาษีแบบถูกกฎหมายซึ่งถ้าทุกคนในประเทศมีค่านิยมเช่นนี้ประเทศก็จะไม่มีภาษีมาพัฒนาประเทศเป็นต้น
แต่ส่วนที่ดีของทักษิณ พันธมิตรมองไม่เห็นเลยหรือ ลองมองย้อนไปการเมืองก่อนจะมีพรรคไทยรักไทยดู ว่า บทบาทของพรรคการเมืองทุกพรรค ขอย้ำว่าทุกพรรค ไม่ว่าประชาธิปัตย์ ชาติไทย ชาติพัฒนา มีความรับผิดชอบและแปรผลในทางปฏิบัติ ต่อนโยบายที่หาเสียงไว้ขนาดใหน และหลังจาก มีพรรคไทยรักไทยแล้ว พรรคนี้รับผิดชอบและทำตามที่หาเสียงไว้ มากกว่าพรรคการเมืองรุ่นก่อนหรือไม่ หรืออีกประการ ตอนที่ไทยรักไทยมาเป็นรัฐบาล กำลังซื้อภายในประเทศอ่อนล้ามาก การกระตุ้นกำลังซื้อรัฐบาลในขณะนั้นทำได้ในเวลาอันสั้นมาก และที่สำคัญที่สุดคือการบริหารเชิงบูรณาการ เมื่อมีโครงการอะไรออกมาคุณทักษิณจะมองทั้งระบบที่เกี่ยวข้องกันแล้ววางโครงงานทั้งระบบให้งบประมาณทั้งระบบผลก็คือเกิดการเดินหน้าของงานอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาอันสั้น ตรงนี้ถ้าพันธมิตรต้องการพรรคพวกมากกว่านี้ ต้องมองให้เป็นกลางและเป็นธรรมกว่านี้
เพราะฉะนั้น แนวทางการสร้างการเมืองใหม่ ในระยะแรก ที่พันธมิตร นำเสนอ ผมให้สอบตก
ในระยะที่2 องค์ประกอบ ภาครัฐ ผมเห็นด้วย ที่ต้องมี สภาประชาชน รัฐบาลประชาชน องค์กรตรวจสอบ แต่ผมยังไม่เห็นวิธีการว่า การได้มาซึ่งหน่วยงานเหล่านั้นเป็นเช่นไร จึงวิพากษ์ยังไม่ได้
ส่วนในภาคประชาชน อย่างที่นำเสนอ ผมเห็นด้วยในหลักการ แต่วิธีการพันธมิตรก็ยังไม่เสนอเช่นกัน จังต้องรอ
ท้ายที่สุดนี้ หลังจากอ่านทั้งวิธีคิดและหลักทฤษฎี ของฝ่ายพันธมิตรแล้ว อดเป็นห่วงไม่ได้เพราะค่อนข้างอุดมคติและขาดหลักการทางการปกครอง
โดยหลักการปกครองแล้ว เพื่อการควบคุมสันติสุข โครงสร้างของการสร้างระบบเขาจะวางประชากรไว้เป็นห้องๆโดยแต่ละห้องก็จะมีผู้ควบคุมหรือหัวหน้า แล้วสร้างเครือข่ายหัวหน้า สร้างระบบคัดเลือกหัวหน้าในหมู่หัวหน้า
อย่างการเมืองของเรา หัวหน้าแต่ละห้องคือ สส.1 คน แล้วให้ สส.มีเครือข่ายคือพรรค เป็นต้น
หากเป็นระบบที่เปิดกว้าง ไม่มีระบบควบคุมเช่นนี้ มีจุดอ่อนมากมายในระบบ ที่สุดแล้วก็จะเกิดความวุ่นวายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตรงนี้อยากจะฝากพันธมิตรไว้คิดครับ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 4277 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย pee2525@hotmail.com
IP: Hide ip
, วันที่ 26 ก.ค. 51
เวลา 12:19:54
|