• 26 ม.ค.ชวนชมสุริยะคราสหนแรกของปี 2009 |
โพสต์โดย reportter , วันที่ 26 ม.ค. 52 เวลา 09:24:11 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นักดาราศาสตร์ระบุ สุริยุคราสครั้งแรกของปี จะเกิดอีกแบบเต็มดวง 22ก.ค.เตือนอย่าดูนานใช้อุปกรณ์กระจกดำ,ฟิล์มเอ็กซเรย์ ระบุช่วงระยะคราส15จังหวัด
รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เผยวันพรุ่งนี้(26 ม.ค.) จะเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วนแบบวงแหวน จะมองเห็นได้ตามเส้นทางพาดผ่านมหาสมุทรอินเดีย และด้านตะวันตกของอินโอนีเซีย ซึ่งทุกภูมิภาคของประเทศไทยจะเห็นบางส่วน
ถือเป็นสุริยุปราคาครั้งแรกของปีดาราศาสตร์สากล (International Year of Astronomy 2009) และคาดว่าครั้งต่อไปในวันที่ 22 ก.ค. จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง สังเกตเห็นตามแนวคราส พาดผ่านประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ สำหรับ จ.เชียงใหม่ จะสังเกตเห็นได้เวลา 07.02 - 09.11 น. และสังเกตเห็นการบดบังกัน 63.4%
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุริยุปราคา และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจได้ที่ www.astroschool.on.th และwww.narit.or.th
ปราจีนตั้งกล้องดูดาว 7 ตัว
นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยถึงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สุริคราสที่จะเกิดขึ้นเห็นได้บางส่วนในประเทศไทยวันจันทร์ที่ 26 ม.ค.นี้ โดยจะเริ่มเข้าคราสเฉลี่ย 15.50 น. ไปสิ้นสุดเวลา 17.50 น. โดยภาคใต้จะเห็นส่วนเว้าแหว่งบนดวงอาทิตย์มากที่สุด
ในส่วนหอดูดาวบัณฑิต ตลาดบางบ่อ อ.แปลงยาว ฉะเชิงเทรา ได้นำกล้องโทรทัศน์ 5 ตัวติดตั้งแผ่นกรองแสงให้ผู้สนใจได้ชมสุริยคราส พร้อมกับบันทึกภาพเพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาด้วย
ที่โรงเรียนไผแก้ววิทยา อ.แปลงยาว ได้จัดกิจกรรมนำนักเรียนไปชมปรากฏการณ์ โดยนำกล้องโทรทัศน์ขนาด 9 เศษ 1 ส่วน 4 นิ้ว และขนาด 4 นิ้ว รวม 2 ตัว พร้อมแผ่นกรองแสงให้นักเรียนได้ศึกษาสุริยะคราสบางส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
นายวรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ห้ามชมปรากฎการณ์นี้ด้วยตาเปล่าเด็ดขาด ควรดูผ่านกระจกรมควันหนาๆแบบโบราณส่องดูและห้ามส่องดูนานๆ เพราะจะมีผลต่อสุขภาพตาได้
ระบุช่วงเวลาคราส 15 จังหวัด
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ช่วงระยะเวลาเห็นสุริยะคราสบางส่วนในแต่ละพื้นที่ดังนี้
กรุงเทพฯ เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 53 นาที 1 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 52วินาที โดยคราสจะสิ้นสุดเวลา 17 นาฬิกา 58นาที 54 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 33.1%
เชียงใหม่ เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 5นาที 24 วินาที คราสลึกสุด 17นาฬิกา 2 นาที 18 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 53นาที 32 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 18.7 %
หนองคาย เริ่มเข้าคราส 16นาฬิกา 2นาที 1วินาทีคราสลึกสุด 17นาฬิกา 2นาที 24 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 56นาที 28วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 25.3 %
อุตรดิตถ์ เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 02นาที 05 วินาที คราสลึกสุด 17นาฬิกา 1 นาที 58 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 55นาที 25 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 22.8%
พิษณุโลก เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 0 นาที 8วินาที คราสลึกสุด 17นาฬิกา 1 นาที 36วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 56นาที 28 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 24.9%
อุดรธานี เริ่มเข้าคราส 16 นาฬิกา 0นาที 58 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 2 นาที 12วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 56นาที 56 วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 26.6 %
นครสวรรค์ เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 57 นาที 30 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 00นาที 58 วินาท คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 57นาที24 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 2725 %
นครราชสีมา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 55 นาที 48 วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 00 นาที 54 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 58 นาที 38 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 31.9%
อุบลราชธานี เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 56 นาที 16วินาที คราสลึกสุด 17 นาฬิกา 01นาที 17 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 55นาที 48วินาที ดวงอาทิตย์ถูกบัง 34.7%
ชลบุรี เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52นาที 19วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 45 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 13 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 34.6 %
สุราษฎร์ธานี เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 42นาที 45วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 56 นาที 07 วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 59วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 43.6 %
ภูเก็ต เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 42 นาที 45 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 56นาที 07 วินาที คราสสิ้นสุด 17นาฬิกา 59 นาที 59วินาทีดวงอาทิตย์ ถูกบัง 43.6%
สงขลา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 39นาที 12วินาที คราสลึกสุด 16นาฬิกา 54 นาที 44 วินาที คราสสิ้นสุด 18นาฬิกา 00 นาที 11 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง5028 %
ปัตตานี เริ่มเข้าคราส 15 นาฬิกา 38นาที 54 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 54นาที 37 วินาที คราสสิ้นสุด 18 นาฬิกา 00 นาที 14 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง 52.7 %
ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52 นาที 56 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59 นาที 51วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59นาที 05วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 33.94 %
หอดูดาวบัณฑิตจังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มเข้าคราส 15นาฬิกา 52นาที 46 วินาที คราสลึกสุด 16 นาฬิกา 59นาที 50วินาที คราสสิ้นสุด 17 นาฬิกา 59 นาที 11 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบัง34.40 %
ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1366 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย reportter
IP: Hide ip
, วันที่ 26 ม.ค. 52
เวลา 09:24:11
|