• หนี้สินเกษตรกร..เพราะไร้คณภาพหรือระบบมีปัญหา |
โพสต์โดย พี , วันที่ 11 ก.พ. 52 เวลา 09:47:23 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ปัญหาหนี้สินเกษตรกรต่อสถาบันการเงิน เมื่อเวลาผ่านไปปัญหาก็ยิ่งทวีคูณ จนปัจจุบันมีที่ดินติดอยู่กับสถาบันการเงินถึง 37 ล้านไร่
ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่า เป็นเพราะอะไร ทำไมจึงมีหนี้สะสมมากมายจนดิ้นไม่ออก รัฐบาลหลายรัฐบาลต่างก้พยายามเข้ามาแก้ปัญหา แต่เมื่อเข้าไปศึกษาปัญหาอย่างลึกซึ้งแล้วยากที่จะแก้ไขเพราะความผิดพลาดเชิงนโยบายตั้งแต่เริ่มตั้ง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส) ปี2509
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ถูกจัดตั้งแทนที่ธนาคารเพื่อการสหกรณ์โดยมีเหตุผลหนึ่งที่ว่า ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ไม่ได้ให้สินเชื่อแบบกำกับแนะนำ
แต่การดำเนินการของ ธ.กส ที่ผ่านมาหาได้กระทำการ กำกับดูแล แนะนำ หรือพี่เลี้ยงเกษตรกร ตามเจตนารมณ์ที่จัดตั้งขึ้น ในทางตรงกันข้ามกลับแสวงหาประโยชน์เพิ่มเติมจากเกษกรโดย เอาสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตมาบังคับขายทางอ้อม ในราคาเท่าตลาดหรือบางชนิดสูงกว่าด้วยซ้ำ
กับอีกประการหนึ่งคือเพิ่มความมั่นคงในกับหน่วยงาน ธ.กส โดยให้เกิดการค้ำประกันหมู่
หากพิจารณาโดยคุณสมบัติของเกษตรกรแล้ว ยากมากที่จะเข้าคุณลักษณะสามารถกู้เงินได้เพราะ รายได้จากการทำงานจะมาจากการขาย พืชผลการเกษตรที่ได้ปลุกขึ้นมาซึ่งไม่สามารถควบคุมราคาขายได้ นั่นหมายความว่าขาดความมั่นคงทางราคาขาย ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวในตลาดที่ราคาผันผวน 10-300%จากราคาฐานในปีที่ผ่านมา นั่นคือหมายความว่า ถ้าปีนี้ ราคา กก.ละ10บาท ในปีถัดไป ราคาอาจจะเหลือ 3 บาท หรืออาจจะขึ้นไปเป็น30 บาท แต่จากสถิติย้อยหลังไป15ปี โอกาสที่จะเป็น30บาทเพียงแค่4.57%และโอกาสที่จะลดลงเหลือแค่3บาทกลับเป็น27.256%
นั่นหมายความว่าความเสี่ยงที่เกษตรกรจะขาดความสามารถใช้คืนหนี้สิน มีสูงมาก
นโบบายกำกับ แนะนำ ที่เป็นเจตนารมณ์ ธ.กส ไม่เคยมีในยุทธศาสตร์ของธนาคาร ไม่เชื่อ ลองเดินเข้าไปถามผู้จัดการทุกสาขาก็ได้ว่า ปีนี้ควรปลูกอะไร เพราะอะไร ไม่ควรปลูกอะไร เพราะอะไร รับรองตอบไม่ได้เพราะธนาคารไม่ได้หล่อหลอมให้ศึกษาองค์ความรู้ที่สามารถกำกับแนะนำเกษตรกรได้
บทบาทของธ.กส ที่ผ่านมาเป็นเพียงสถาบันทางการเงินเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ทั่วไปเท่านั้น การกำหนดคุณสมบัติผู้จัดการ ธ.กส ก็ใช้คุณสมบัติเดียวกันกับ ธนาคารพาณิชย์
และที่เป็นหลักฐานพยานอย่างชัดเจนคือ ธ.กส ได้รับการประกาศเป็นธนาคารที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมนั้น หากเข้าไปดูรายละเอียดของคุณสมบัติที่ได้รับการประกาศเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับธนาคารพาณิชย์คือพิจารณาจากผลทางการเงิน ประสิทธิภาพระหว่างหนี้สินกับทรัพย์สิน
ด้วยเหตุที่ฝ่ายรัฐ ส่งสัญญาณผิด ฝ่าย ธ.กสก็สำคัญผิด ไม่รู้ว่าภาระหน้าที่สำหรับการก่อตั้งเพื่อกำกับแนะนำเกษตรกรนั้น ต้องมีคุณสมบัติและข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าอะไรบ้าง ผลก็คือเกิดหนี้สินเพิ่มขึ้นๆ จนถึงปัจจุบันยากจะแก้ไข เหตุเพราะไร้ประสิทธิภาพของระบบที่ไม่รับรู้เลยว่าขีดความสารถของเกษตรกรโดยรวมในปัจจุบันไม่สามารถทำเงินคืนใช้หนี้ธนาคารได้
และถ้ารัฐบาล ยอมช่วยแก้หนี้สินปัจจุบันได้ อีก10ปีข้างหน้าหนี้ก็จะเพิ่มขึ้นมาอีกและจะเป็นอย่างนี้แบบไม่รู้จบ
เรื่องหนี้สินนี้ กลุ่มที่น่าเสียใจมากคือ กลุ่มครู มีหนี้สินล้นพ้นตัวมาก ที่ปัญหายังไม่ถูกระเบิดออกมาแบบเกษตรกรเพราะครูมีรายรับค่อนข้างคงที่จึงยังมีขีดความสามารถจ่ายหนี้ได้อยู่ ซึ่งต่างกับเกษตรกร และที่บอกว่าน่าเสียใจก็เพราะว่า คนกลุ่มนี้เป็นผู้ให้ความรู้คน เป็นแม่แบบคน แต่ยังด้อยประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิต หนี้ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นของกลุ่มครู เกิดจากการหลงวัตถุ หน้าใหญ่ใจโตอยากอวด กลัวเสียหน้าถ้ามีไม่เท่าเทียม ผลก็คือต้องใช้เงินในอนาคตไปกู้ซื้อสิ่งเหล่านั้นมากรักษาหน้า ด้วยค่านิยมดังกล่าวที่แม้แต่ผู้ที่ทำหน้าที่ ให้ความรู้ยังกระทำ ผลก็คือ เด็กนักเรียน นิสิตนักศึกษาไม่ได้เห็นแบบอย่างที่ดี จึงพากันโดดลงสู่กระแสวัตถุนิยม คนที่พ่อแม่รวยก้รอดตัวไปขอเงินได้ คนที่จนๆก็หาเงินด้วยวิธีที่ผิด ขายตัว ขายยา เป็นต้น
นี่แหละปัญหาของประเทศที่ยากจะแก้ไข เพราะเรามีโครงสร้างที่ผิดพลาด และยังไม่เห็นอนาคต ตราบใดที่ยังไม่สามารถคัดกรองคุณสมบัติของครู เพื่อเป็นต้นแบบของเด็กนักเรียนในอนาคตเพื่อเปลี่ยนผ่าน
และตราบใดที่ ธ.กสไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้ให้กู้แก่เกษตรกร เป็นหุ้นส่วนเกษตรกร โดยร่วมรับผิดชอบต่อการกำไรขาดทุนของเกษตรกร แบบที่ธนาคารมุสลิมกระทำอยู่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้จะเป็นการบังคับให้ผู้จัดการ ธ.กส.เพิ่มขีดความสามารถของตนเองเพื่อเป็นกำลังสำคัญช่วยเหลือเกษตรกรได้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 4157 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย พี
IP: Hide ip
, วันที่ 11 ก.พ. 52
เวลา 09:47:23
|