กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
--แรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ส่อแววถูกเลิกจ้างไม่หยุดคาดไตรมาสแรกไม่ต่ำกว่า 15,000 คน หลังโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ออร์เดอร์ลด นายมนัส เกียรติเจริญวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจ.ลำพูน เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลิกจ้างแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ในไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น หลังไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2551 ที่ผ่านมา สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมเลิกจ้างแรงงานไปแล้วกว่า 1,000 - 2,000 คน เป็นผลจากการปิดกิจการของโรงงานผลิตเครื่องประดับและจิวเวอรี่ และโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เลิกจ้างแรงงานฝ่ายผลิตที่เป็นลูกจ้างรายวัน
ส่วนสถานการณ์หลังผ่านพ้นเดือนแรกของปีนี้ เริ่มชัดเจนมากขึ้น เมื่อสถานประกอบการหลายแห่งมีคำสั่งซื้อ หรือ ออร์เดอร์จากลูกค้าลดลง เดิมปลายปีที่ผ่านมาคาดการณ์ว่าออร์เดอร์จะลดลงประมาณ 30% แต่หลังจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ระดับโลก ทยอยประกาศตัวเลขผลประกอบการซึ่งมีกำไรลดลงและประกาศปลดคนงานรวมทั้งปิดโรงงานหลายแห่งทั่วโลก ส่งผลกระทบกับโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมอุตสาหกรรม คาดว่าออร์เดอร์อาจลดลงมากกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ครั้งแรก แต่ไม่สามารถระบุตัวเลขได้ชัดเจนเพราะนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างปกปิดตัวเลข
นายมนัส กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการหลายรายเริ่มใช้ กฎหมายแรงงาน ม. 75 แจ้งไปยังหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องว่าจะเลิกจ้างแรงงานเพิ่มแล้ว ปัญหาเริ่มลุกลามจากแรงงานที่เป็นลูกจ้างรายวันมาสู่พนักงานประจำที่ทำงานอยู่ในออฟฟิศ ประเมินว่าภาคในไตรมาสแรกปีนี้ จะมีแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมถูกเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 15,000 คน เพราะหลายโรงงานที่ออร์เดอร์ลด นอกจากใช้มาตรการลดโอที เวลาทำงาน ยังประกาศจ่ายเงินชดเชยและเงินพิเศษให้ลูกจ้างที่สมัครใจลาออก
"แม้ที่ผ่านมารัฐบาลและกระทรวงแรงงานจะมีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง และเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น การจัดอบรมอาชีพ ฯลฯ แตในทางปฎิบัติยังล่าช้าคาดว่างบประมาณดำเนินการ จะได้รับการอนุมัติและใช้ได้ราวเดือน เม.ย. แต่ขณะนี้สถานประกอบการหลายแห่งเริ่มทะยอยปลดคนงานแล้ว"นายมนัส กล่าว
นายอัครเดช ชอบดี รองประธานสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์ (สอฟส.) กล่าวว่า สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ใช้วีธีการลดค่าใช้จ่ายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจแตกต่างกัน ปลายปีที่ผ่านมาบริษัท แอลทีอีซี จำกัด ได้ปลดคนงานที่เป็นลูกจ้างรายวันไปประมาณ 1,000 ราย แต่ปีนี้กำลังดูสถานการณ์อาจมีการปลดเพิ่ม
ส่วนบริษัท โฮย่า จำกัด ใช้วิธีจ่ายค่าจ้างเพียง 75% และลดเวลาทำงานเหลือเดือนละ 20 วัน ปัจจุบันพนักงานได้รับค่าจ้างวันละ 158 - 160 บาท รวมรับต่อเดือนประมาณ 4,000 บาท แต่บริษัทจูงใจพนักงานโดยให้ค่าโอที เงินพิเศษวันหยุด ทำให้ช่วงปกติแต่ละคนได้รับเงินไม่น้อยกว่า 7,000 - 10,000 บาท แต่เมื่อบริษัทจ่างเพียง 75% โดยไม่มีค่าโอที และเงินพิเศษวันหยุด จึงมีรายได้ลดลงเหลือเพียง 2,400 บาทเท่านั้น
นอกจากนี้ผลกระทบบริษัทดังกล่าว ยังเปิดให้พนักงานสมัครใจลาออก โดยมีเป้าหมายปลดพนักงานประมาณ 1,500 คน จากทั้งหมด 4,500 คน แต่จนถึงขณะนี้มีพนักงานสมัครใจลาออกแล้วกว่า 2,000 คน ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ บริษัทจะประกาศรายชื่อพนักงานที่สมัครลาออกเพื่อจ่ายเงินชดเชย
ทั้งนี้ในส่วนของบริษัท โฮย่า มีทั้งหมด 2 โรงงาน ได้ใช้มาตรการลดเวลาทำงานของพนักงาน ให้หยุดคนละ 1 - 2 เดือน โดยโรงงานที่ 2 จะเริ่มให้พนักงานหยุดงานตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ.นี้ และเปิดอีกครั้งวันที่ 21 เม.ย. ส่วนโรงงานที่ 1 เริ่มหยุดวันที่ 21 มีนาคม และเปิด 21 เมษายน 2552
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|