ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เด็กในกลุ่มอาการสมาธิสั้นคงเป็นเด็กที่ผู้ปกครองหลายท่านมีความเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย เนื่องจากพฤติกรรมส่วนบุคคลของเด็กกลุ่มนี้ มีการส่งผลต่อเนื่องมายังการรับรู้เนื้อหาวิชาในการเรียนการสอนในแทบจะทุกรายวิชา ในหลายครั้งหลายคราที่เด็กไม่สามารถจำเนื้อหาวิชาที่ได้ร่ำเรียนไปเมื่อชั่วโมงที่ผ่านมาเสียด้วยซ้ำไป หรือที่ยิ่งเป็นปัญหาหนักไปกว่านั้นคือ เด็กอาจไม่ได้มีความอดทนที่จะสนใจ หรือรับฟังเนื้อหา หรือสิ่งที่ครูพยายามที่จะสอนเสียด้วยซ้ำไป
สิ่งเหล่านี้เนื่องมาจากการผิดปกติของสารเคมีภายในสมองของเด็กเหล่านั้นเอง ซึ่งทางผู้ปกครองคงทำได้ดีที่สุดเพียงแค่การให้รับประทานยาเพื่อควบคุมอาการ แต่ไม่ได้หมายความว่าพฤติกรรมเหล่านั้นของเด็กจะหายไปเพราะการออกฤทธิ์ของยาเหล่านั้น ซึ่งทำให้ผู้ปกครองเกิดความเครียด และวิตกกังวล เมื่อยานั้นหมดฤทธิ์ หรือเมื่อเด็กกลับมามีอาการซ้ำแบบเดิมอีกครั้ง
การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กกลุ่มสมาธิสั้น ก็จัดได้ว่าเป็นปัญหาให้แก่ผู้ที่ไม่ได้มีความชำนาญในการทำความเข้าใจกับเด็กกลุ่มนี้ได้มากพอสมควร นอกจากความเข้าใจในพฤติกรรมส่วนตัวของเด็กกลุ่มนี้แล้ว ทางครูผู้สอนยังควรที่จะต้องหาทางเพิ่มทักษะในการเรียนรู้ที่มิใช่การบังคับให้เด็กพยายามทำความเข้าใจเนื้อหา เพราะนั่นยิ่งเป็นการทำร้ายความรู้สึกทางด้านการรับรู้ของเด็กอย่างร้ายแรงทีเดียว แต่ในทางที่เหมาะสม ครูผู้สอนควรมีความเข้าใจว่าจะทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพกับเด็กกลุ่มสมาธิสั้นเหล่านี้
คงจะหนีไม่พ้นหลักการมองเด็กอย่างเข้าใจด้วยหลักการจิตวิทยาสำหรับเด็กกลุ่มสมาธิสั้นโดยเฉพาะ เมื่อเรารู้จักที่จะมองในจุดที่เด็กเป็นและนำจุดนั้นมาก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ที่เด็กไม่ต้องอยู่กับเสียงดุด่า ว่ากล่าวแบบที่ทำให้เด็กไม่อยากจะเดินเข้ามาในห้องเรียนอีก แต่เราควรจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องเข้ากับพฤติกรรมที่เด็กเป็นรวมทั้งเข้าใจและปรับกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
จากการวิเคราะห์และทำความเข้าใจ รวมทั้งการสอนเด็กในกลุ่มสมาธิสั้นมาเป็นช่วงระยะเวลายาวนานช่วงหนึ่งทำให้ผู้เขียนทราบว่าเราควรจัดการกับปัญหาอย่างนี้ได้อย่างไร ดังนั้นผู้เขียนจึงได้มีการเปิดคอร์สการเรียนการสอนอยู่ด้วยกันสองลักษณะดังนี้
ลักษณะที่หนึ่ง การเรียนการสอนในด้านการจัดระบบการคิดสำหรับเด็กกลุ่มสมาธิสั้นด้วยสื่อต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำซากจำเจ และเป็นสื่อที่เด็กสามารถสัมผัสด้วยตัวเด็กเองได้ และเด็กสามารถพบเห็นสิ่งที่คล้ายสื่อนี้ได้โดยทั่วไป เพื่อให้เด็กได้เข้าใจ และเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นจริง และยังรวมถึงการมองจากพฤติกรรมหลักที่เด็กเป็นและนำมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักความเป็นจริงในการจัดระบบกระบวนการคิดและการจัดการด้านการรับเนื้อหาความรู้ของเด็ก และให้เด็กได้นำการจัดการนั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
ลักษณะที่สอง การจัดการด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กกลุ่มสมาธิสั้น เพื่อให้เด็กได้นำกระบวนการเรียนรู้จากลัษณะที่หนึ่งข้างต้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการฝึกทักษะด้านภาษาอังกฤษต่อไป และในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กกลุ่มสมาธิสั้นนี้ ต้องอาศัยผู้ที่มีความอดทนด้วยความเข้าใจในตัวเด็ก และมีความชำนาญในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ตัวเด็กโดยตรง
ทางผู้เขียนหวังว่า การจัดการกระบวนการเรียนการสอนนี้ เป็นประโยชน์ให้แก่เด็กมามากแล้วหลายต่อหลายกลุ่ม จึงได้มีแนวคิดในการขยายผลต่อเนื่องมายังพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นลำดับถัดไป
หากท่านมีความประสงค์ที่จะขอรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมให้แก่บุตรหลานของท่าน ท่านสามารถติดต่อมาได้ที่………………
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|