กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า เป็นห่วงแรงงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่ 1.5 แสนคนอาจว่างงานไปจนถึงปี 53
เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับแรงงานที่ถูกปลดไปก่อนหน้านี้เป็นอันดับแรกในกรณีเปิดรับสมัครพนักงานเพิ่มเพราะต้องการผู้มีประสบการณ์ทำงานได้ทันที เพื่อรองรับเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในไตรมาสที่ 3-4 ของปี 52 ดังนั้นรัฐบาลควรช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ธุรกิจโดยด่วน เพื่อรักษาแรงงานกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ถูกเลิกจ้างเพิ่มอีก 1.8 แสนคนมาแย่งงานกับผู้จบใหม่
ทั้งนี้รัฐบาลควรให้สถาบันการเงินของรัฐบาลแยกบัญชีปล่อยสินเชื่อ
พร้อมทั้งอุดหนุนอัตราดอกเบี้ยส่วนหนึ่ง แก่โรงงานโดยรัฐบาลรับภาระหากเป็นหนี้เอ็นพีแอลจนล้มละลาย แต่มั่นใจว่าหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวผู้ประกอบการสามารถชำระหนี้ได้ภายใน 2-3 ปี เพราะไม่มีรายใดกล้าเบี้ยวหนี้รัฐบาลแน่นอน “เด็กจบใหม่จำนวนมากกลับต่างจังหวัดเพื่อไปช่วยงานพ่อแม่ในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ส่วนหนึ่งคงได้งานตามความสามารถแต่ที่น่าห่วงคืออีก 1.5 แสนคนคงต้องรอถึงปีหน้า เพราะผู้ประกอบการอยากรับคนที่มีประสบการณ์เป็นหลักก่อน เพื่อเดินเครื่องการผลิตได้ทันที”
รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม แจ้งว่า ไตรมาสแรกของปี 52 (ม.ค.-มี.ค.) มี โรงงานขออนุญาตเปิดกิจการ 778 แห่ง วงเงิน ลงทุน 2.3 หมื่นล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันของ ปีก่อน 1,579 ล้านบาท
มีการจ้างงาน 2 หมื่นคนลดลง 4,000 ราย เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ที่ชะลอตัวส่งผลให้ผู้ประกอบการระมัดระวังการ ลงทุน อย่างมาก โดยอุตสาหกรรมที่เปิดกิจการมาก เช่น ขุดตักดิน ทำมันเส้น เฟอร์ นิเจอร์ ส่วนปริมาณโรงงานปิดกิจการมี 379 แห่ง ลดลง 110 แห่ง ส่งผลให้ลูกจ้างต้องว่างงานทันที 13,105 ราย เพิ่ม 1,436 ราย
“ตัวเลขการเปิดปิดโรงงาน รวมถึงปริมาณการจ้างและปลดคนออกไม่ได้ส่งสัญญาณที่อันตรายมากนักในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่โรงงานที่ปิดในปีนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปีก่อน แต่โรงงานที่เปิดจะมีขนาดเล็กกว่าปีก่อน เพราะนักลงทุนยังระวังอยู่”
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล นายกสมาคมสิ่งทอแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาวิกฤติเศรษฐ กิจทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอช่วงครึ่งแรกของปี 52 ได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าปี 40
เนื่องจากตลาดหลักอย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นต่างหยุดซื้อสินค้าใหม่ตั้งแต่ช่วงคริสต์มาส เพื่อเคลียร์สินค้าเก่าในสต๊อกให้หมดก่อน จากนั้นจึงทยอยซื้อลอตใหม่ช่วงไตรมาส 3 และต่างเน้นซื้อสินค้าราคาถูกมากกว่าสินค้าคุณภาพราคาแพง“ตลาดญี่ปุ่นแม้จะมีปัญหาแต่ก็ถือว่ายังน่าสนใจ โดยเฉพาะภายหลังการเซ็นสัญญาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือเจเทปป้าก็จะทำให้ไทยได้เปรียบประเทศอื่นในการเจาะตลาด ซึ่งหวังว่า นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จะวางกลยุทธ์สนับสนุนสินค้ากลุ่มนี้อย่างจริงจัง”
ก่อนหน้านี้ รมว.อุตสาหกรรม ต้องการให้สถาบันการเงินของรัฐบาลขยายระยะเวลาการชำระหนี้ของผู้ประกอบการจากเดิมสูงสุดไม่เกิน 15 ปี เป็นไม่เกิน 25 ปี
เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจไม่ให้เป็นหนี้เอ็นพีแอล และไม่ให้ขาดสภาพคล่อง เนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจทำให้หลายรายประสบปัญหาจำหน่ายสินค้าลำบาก จนต้องลดกำลังการผลิตลงอีก 25-30% ส่งผลให้ไม่มีเงินเพียงพอในการชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน เพราะหากรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมเชื่อว่าภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีคงอยู่ลำบาก. |
|
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|