• "อนุพงษ์"นำแถลงยันจีที200ใช้ได้จริง |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 18 ก.พ. 53 เวลา 17:46:03 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
(18ก.พ.) ที่หอประชุมกองทัพบก เมื่อเวลา 15.00 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก นำคณะแถลงเรื่องปัญหาเครื่องตรวจมวลสาร รุ่นจีที 200 หลังจากหน่วยงานต่าง ๆ สุ่มตรวจสอบแล้วไม่ผ่านเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์มากมาย เชื่อมโยงถึงการจัดซื้อจัดหา โดยเริ่มจากการอธิบายความเป็นมาและเหตุผลที่จัดซื้อเครื่องมือดังกล่าว ซึ่งเริ่มที่กองทัพอากาศนำมาใช้ตรวจสอบภายในฐานทัพอากาศดอนเมือง ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งปรากฎว่าได้ผล ทั้งการหาอาวุธและสารเสพติด
ต่อมาพลตรีฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เจ้ากรมยุทธการกองทัพบก ชี้แจงว่า ชุดทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้าได้ทดลองใช้ เครื่องตรวจจีที 200 ในปี 2548 ซึ่งปรากฎว่า พบอาวุธในมัสยิด ที่อ.รามัน จ.ยะลา ทำให้เห็นว่าเครื่องนี้สามารถใช้การได้ จึงเสนอขอเครื่องมือดังกล่าว ในปี 2550 เพราะเชื่อว่าสามารถป้องกันอันตรายจากการใช้ระเบิดของผู้ก่อการร้าย เพื่อรักษาชีวิตทั้งของเจ้าหน้าที่และชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ได้ กองทัพบกจึงจัดหาให้ตามขั้นตอน
โดยจัดซื้อขั้นต้น 26 เครื่อง ให้เฉพาะ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า นำไปใช้ในพื้นที่ ซึ่งเกิดผลงานหลายครั้ง ทางหน่วยย่อยหน่วยเฉพาะกิจต่าง ๆ จึงเสนอขอเครื่องมือนี้ในหน่วยปฏิบัติบ้าง กองทัพบกจึงจ่ายให้ กองร้อยละ 2 เครื่อง ซึ่งได้ผลเช่นกัน
กระทั่งปี 2550 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ปปส. จัดหาให้กองทัพภาคที่ 3 สองเครื่อง เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อตรวจหาสารเสพติด ซึ่งสามารถตรวจพบยาเสพติด อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบ จากนั้น กองทัพบก จึงจัดซื้อเครื่อง จีที 200 จำนวน 546 เครื่อง ให้กองกำลังต่าง ๆ นำไปใช้ด้วย
เจ้ากรมยุทธการ กองทัพบก สรุปว่า กองทัพบก จัดซื้อเครื่องจีที 200 ทั้งหมด 757 เครื่อง ใช้ในพื้นที่ภาคใต้ 524 เครื่อง พื้นที่ชายแดน 180 เครื่อง ที่เหลือกระจายไปตามภารกิจของชุดทำลายและเก็บกู้ระเบิด สำหรับผลงาน ตั้งแต่ปลายปี 2551 - ปัจจุบัน มีผลงาน 118 ครั้ง เป็นการพบอาวุธ 32 ครั้ง และยาเสพติด 86 ครั้ง
ช่วงท้ายพล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ทหารชั้นผู้น้อยไปปฏิบัติการตามแนวชายแดนเขาไม่มีเครื่องมือไม่อะไรที่จะอำนวยความสะดวก ความต้องการเกิดจากผู้ปฏิบัติส่วนจะพิสูจน์หรือไม่นั้นตนไม่ทราบ โดยได้มีการอนุมัติใช้มาตั้งแต่ปี 2548 และไม่ใช่ประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้ประเทศอื่นๆก็ใช้ ส่วนข้อถามที่ว่าทำไมไม่ใช้เครื่องมืออื่นก็ขอชี้แจงว่าอุปกรณ์แต่ละอย่างมีข้อแตกต่างในการใช้อย่างเช่นการใช้สุนัขก็มีข้อจำกัด
"มาร์ค"ยันตรวจสอบการจัดซื้อจีที200
เมื่อเวลา 12.15 น. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่1 เป็นประธานการประชุม โดยนายซูการณ์โน มะทา ส.ส.ยะลา พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามสดนายกฯเรื่อง การไร้ประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี ว่า เมื่อมีผลของการทดสอบเครื่องจีที 200 พบว่าเครื่องมีความผิดพลาดถึงร้อยละ 80 โดยปรากฎชัดว่าไร้ประสิทธิภาพไม่คุ้มกับงบประมาณที่ลงทุนในการจัดซื้อ รัฐบาลยังไม่มีการห้ามใช้เครื่องมือดังกล่าวในพื้นที่ เพียงแต่สั่งไม่ให้ซื้อเพิ่ม หากยังคงมีการใช้เครื่องจีที 200 ต่อไป และมีปัญหาอีกใครจะรับผิดชอบ ทั้งนี้การจัดซื้อเครื่องจีที 200 มีการดำเนินการผ่านบริษัทเอวีเอเซทคอม จำกัด ที่มีการจำหน่ายให้หน่วยงานของรัฐทั้งหมด โดยมีบุคคลผู้ประสานงานมีความใกล้ชิดกับบุคคลที่ทำการโค่นล้มรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้นายสุเทพ ดวงจินดา ผู้บริหารของบริษัทเอวีเอเซทคอมจำกัด เคยสมัครเข้าเรียนในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เคยเป็นผู้สมัครส.ส.ระบบสัดส่วน ในลำดับที่ 58 ในการเลือกตั้งปี 2548 จึงอยากถามว่ารัฐบาลจะดำเนินการกับบริษัทเอวีเอเซทคอม จำกัด อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เครื่องจีที 200 เริ่มมีการใช้ตั้งแต่ปี 2547 - 2548 โดยเริ่มนำมาใช้ในกองทัพอากาศ ต่อมามีการซื้อเครื่องต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายปี ทั้งในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยเครื่องดังกล่าวมีการใช้ทั้งการตรวจยาเสพติดและวัตถุระเบิด ที่ผ่านมามีผู้มาบอกกับตนว่าขอให้มีการใช้เครื่องนี้เพื่อความมั่นใจในการตรวจสอบวัตถุระเบิด ส่วนปัญหาการตรวจสอบเครื่องจีที 200 เพิ่งจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี เคยมีคำชี้แจงก่อนหน้านี้ของบริษัทเอกชนว่าเครื่องดังกล่าวเป็นเพียงการตรวจสอบเบื้องต้น และต่อมาเมื่อมีการตั้งข้อสงสัยเครื่องมือแบบเดียวกัน และมีการทดสอบในต่างประเทศจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสงสัยมากขึ้น โดยกว่า 40 หน่วยงานทั่วโลกเพิ่มให้ความสงสัย รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ เมื่อมีข่าวและการตั้งข้อสังเกต ตนได้ติดต่อไปยังนักวิชาการโดยตรงถึงที่มาที่ไปของประเด็นที่ตั้งข้อสงสัย เมื่อเห็นว่าข้อมูลมีน้ำหนักจึงขอให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีดำเนินการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จะเห็นว่าเครื่องนี้ใช้กันมาก่อนหน้ารัฐบาลนี้ โดยมีข้อสงสัยแต่ไม่มีการกล่าวหากันแน่ชัด ต่อมารัฐบาลนี้ได้ทำการตรวจสอบ ขอยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ละเลยเรื่องนี้และได้ดำเนินการตรวจสอบจนได้ข้อยุติ โดยเมื่อได้ข้อยุติแล้วสิ่งแรกทำได้คือการระงับการจัดซื้อเพิ่มเติม ถัดมารัฐบาลจะพิจารณาว่าการใช้งานจะทำอย่างไร โดยล่าสุดรัฐบาลได้แจ้งผลการทดสอบและข้อสรุปทางวิชาการไปยังหน่วยราชการแล้ว โดยมีความชัดเจนว่าจะไม่นำเครื่องมือนี้ไปใช้ในการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รัฐบาลขอยืนยันว่าการใช้เรื่องจีที 200 เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น จะไม่มีส่วนเกี่ยวกับการดำเนินคดี การดำเนินคดีจะทำได้ต่อเมื่อมีการตรวจสอบเท่านั้น ดังนั้นหากมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบให้แจงมายังรัฐบาลได้ ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการตรวจสอบ และมีมาตรการเยียวยา สำหรับมาตรการสำหรับเจ้าหน้าที่ ต้องยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ที่ใช้เครื่องนี้ยังมีความเชื่อส่วนตัวว่าเครื่องนี้ยังใช้ได้ แม้รัฐบาลจะย้ำความจริงว่าผลการทดสอบไม่ได้เป็นเช่นนี้ อย่างไรก็ดีคงต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเพื่อไม่ให้กระทบกับขวัญและกำลังของเจ้าหน้าที่ เพราะการยกเลิกการใช้งานไม่สามารถทำได้ในทันทีทันใด ดังนั้นแนวทางที่รัฐบาลทำได้ในขณะนี้คือการทำให้เจ้าหน้าที่ยอมรับว่าเครื่องมือไม่มีประสิทธิภาพ และปกป้องประชาชนไม่ให้เกิดปัญหาจากความเสี่ยง โดยมอบนโยบายให้ผู้บัญชาการทหารบก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ช่วยดำเนินการเรื่องนี้แล้ว
นายซูการ์โน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ตอบคำถามที่เกี่ยวกับนายสุเทพ ดวงจินดา ตนจึงขอสรุปเอาเองว่านายสุเทพคงมีการทุจริตแบบครบวงจร ตนขอถามอีกว่า เมื่อนายกรัฐมนตรียืนยันว่าเครื่องจีที 200 ยังมีความจำเป็นต้องใช้งานต่อ นายกรัฐมนตรีจะดำเนินการอย่างไรกับการจัดซื้อเครื่องของกระทรวงกลาโหมซึ่งเชื่อว่าอาจมีการทุจริต โดยการจัดซื้อมี 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 52 จำนวน 222 เครื่อง มูลค่า 199 ล้านบาท ครั้งที่สองวันที่ 28 เม.ย.จำนวน 129 เครื่อง มูลค่ากว่า 120 ล้านบาท เฉลี่ยราคาเครื่องละ 9 แสนบาท -1.4 ล้านบาท โดยการจัดซื้อใช้วิธีพิเศษ ขณะที่ กรมศุลกากรมีการจัดซื้อโดยวิธีการประมูล แต่มีราคาเครื่องอยู่ที่เครื่องละ 4.2 แสนบาท จึงขอถามนายกรัฐมนตรีว่าจะดำเนินการอย่างไร
นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ตนได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานให้ทำรายงานการจัดซ้อจัดจ้างให้รัฐบาลพิจารณาทั้งหมดทุกหน่วยงานและทุกยุค รัฐบาลยืนยันจะไม่มีการดำเนินการสองมาตรฐาน อย่างไรก็ดีการตั้งกระทู้ถามสดไม่ได้มีการกล่าวถึงการจัดซื้อในปี 2551 ซึ่งมีการจัดซื้อในราคาไม่ต่างกัน ขอย้ำว่ารัฐบาลจะตรวจสอบทั้งหมดไม่มีการละเว้น โดนหากพบว่ามีการจัดซื้อจัดจ้างที่ทุจริตจะมีการดำเนินการไม่มีการละเว้น ส่วนกรณีผู้บริหารที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นใครรัฐบาลจะดำเนินการตามกฎหมายโดยไม่สำคัญว่าเป็นใครหรือเคยสมัครส.ส.พรรคใดมาก่อน
นายซูการ์โน กล่าวต่อไปอีกว่า เนื่องจากปรากฏว่ากระทรวงมหาดไทยมีการจัดซื้อเครื่องอัลฟาซิกเพื่อตรวจสอบสารเสพติด 2 ครั้ง โดยมีราคาเฉลี่ย 5 - 7.3 แสนบาทต่อเครื่อง คณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) มีการจัดซื้อโดยมีราคาเฉลี่ย โดยข้อมูลว่าปปส.มีการจัดซื้อเครื่องอัลฟ่าซิกในราคาเฉลี่ยน 4 แสนบาทต่อเครื่อง รัฐบาลจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีเครื่องอัลฟ่าซิกรัฐบาลจะใช้หลักการเดียวกันทั้งหมดโดยจะมีการตรวจสอบ และหากพบว่าเป็นเครื่องที่ไม่มีประสิทธิภาพจะระงับการจัดซื้อ และให้รายงานการจัดซื้อของทุกหน่วยงานมายังรัฐบาลทั้งหมด ทั้งนี้เครื่องเหล่านี้มีการจัดซื้อกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีราคาไม่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อพบว่ามีปัญหารัฐบาลจะดำเนินการอย่างให้ทำอย่างโปร่งใสและยึดหลักธรรมาภิบาล
ข่าวจาก คมชัดลึก
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1797 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 18 ก.พ. 53
เวลา 17:46:03
|