• โวยโถส้วมโผล่ยอดมณฑปปราสาทนครหลวง |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 07 ก.ค. 53 เวลา 15:02:48 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
โวยโถส้วมโผล่ยอดมณฑปปราสาทนครหลวง
เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนักท่องเที่ยวว่าพบโถสวมอยู่บนปราสาทนครหลวง ต.นครหลวง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นภาพที่ไม่เหมาะสม จึงเดินทางไปตรวจสอบ บนปราสาทซึ่งเป็นหนึ่งโบราณสถานสำคัญของจังหวัด และเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก พบโถชักโครกตั้งใช้อยู่บนฐานยอดมณฑปของปราสาทนครหลวง และมีการเดินท่อน้ำประปา และท่อน้ำทิ้งไว้ นอกจากนี้สภาพบริเวณโดยรอบบนยอดปราสาทนครหลวง ที่เป็นที่ตั้งมณฑปและระเบียงคดทั้ง 4 ทิศ รวมถึงลานรอบมณฑป มีสภาพเสื่อมโทรม สกปรก คล้ายกับไม่มีคนดูแล ปล่อยให้นกพิราบถ่ายกองสะสมหนาอยู่ทั้งบริเวณจนมูลนกหนาคล้ายกองดินส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะที่ตามมุมต่างๆของปราสาทที่มีอยู่จำนวนกว่า 20 มุม สภาพดังกล่าวสร้างความสลดหดหู่ใจแก่นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังพบว่า มีนักท่องเที่ยวที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เข้าไปใช้ถ่ายปัสสาวะทำให้ของเสียทั้งหมดถูกปล่อยถ่ายไปตามท่อที่ชำรุด ราดไปบนตัวโบราณสถาน ทั้งนี้การติดตั้งโถชักโครกนั้นปรากฏว่าผู้ติดตั้งได้เจาะส่วนที่เป็นโบราณสถานลงไปโบกทับด้วยปูนซีเมนต์ต่อท่อ พีวีซีเป็นทางระบายน้ำของชักโครกราดไปตามซากโบราณสถานด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม พระสงฆ์ 1 รูป ที่อยู่ในมณฑป ให้ข้อมูลว่า ไม่มีคนและพระที่จะมาดูแลเรื่องความสะอาด ส่วนโถชักโครกดังกล่าว พบว่าเป็นของเก่าที่ทำชั่วคราวมาแต่ปี 47 แล้ว ช่วงนั้นมีการปลุกเสกวัตถุมงคล มีพระเกจิอาจารย์ มาปลุกเสกวัตถุมงคลตลอด 1 ไตรมาส ด้วยปราสาทนครหลวงสูงและพระที่มาปลุกเสก ชราภาพกันมากแล้ว จึงสร้างโถชักโครงชั่วคราวเพื่อใช้เฉพาะกิจในช่วงนั้น และเมื่อเสร็จพิธียังไม่ได้รื้อออก การที่วัดไปทำแบบนั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำลายโบราณสถาน แต่ทำเป็นการเฉพาะกิจเท่านั้น
สำหรับปราสาทนครหลวง ตั้งอยู่ฝั่งทิศตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ต่อมามาสร้างเป็นที่ประทับก่ออิฐถือปูนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพ.ศ.2147 พระองค์โปรดให้ช่างถ่ายแบบมาจากปราสาทศิลาที่เรียกว่า “พระนครหลวง” ในกรุงกัมพูชา แต่ก็สร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใด ต่อมาจึงมีผู้สร้างมณฑปและพระบาทสี่รอยขึ้นบนปราสาทนี้ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา
ข่าวจาก ข่าวสด
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1427 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 07 ก.ค. 53
เวลา 15:02:48
|