• ทูตญี่ปุ่นบุก DSI ถามธาริต ใครยิงนักข่าว |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 01 เม.ย. 54 เวลา 08:52:37 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
แจงดื้อๆ ไม่มีจนท. ยอมรับว่า ยิงนักข่าว
ทวงชีวิต - อัคร ราชทูตญี่ปุ่นเข้าพบนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อติดตามคดียิงนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพเสียชีวิตที่แยกคอกวัว แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้จะเข้าพบนายธาริตหลายครั้งแล้วก็ตาม
|
อัคร ราช ทูตญี่ปุ่น เข้าพบ "ธาริต" อธิบดีดีเอสไออีกรอบจี้คดีฆ่านักข่าวในเหตุการณ์สลายม็อบเสื้อแดง 10 เม.ย. อ้างต้องรอผลหารือร่วมกับอัยการสูงสุด ก่อนจะรู้ถึงแนวทางคดีในขั้นต่อไป ยืนกรานไม่มีหลักฐานใดระบุเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ "บ.ก.ลายจุด" เผยจัดรำลึก 1 ปี 10 เม.ย. จะเป็นกิจกรรมใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน มีคนจำนวนมาก ใช้พื้นที่ถนนราชดำเนินตลอดทั้งสาย
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม นายโนบุอากิ อิ โตะ อัครราชทูตฝ่ายการเมือง สถานเอกอัครราช ทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่น เดินทางเข้าพบ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เพื่อติดตามความคืบหน้าคดี นายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น สังกัดสำนักข่าวรอยเตอร์ ชาวญี่ปุ่น ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2553 โดยนายโนบุอากิ และนายธาริต พูดคุยหารือกันนานกว่า 1 ชั่วโมง
จาก นั้น นายธาริต เปิดเผยว่า ดีเอสไอชี้แจงความคืบหน้าไปว่า ขณะนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ส่งสำนวนการชันสูตรพลิกศพเพิ่มเติมกลับมาที่ดีเอสไอแล้ว พร้อมทั้งสรุปความเห็นว่า ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าการตายของนายฮิโรยูกิ เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ และไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดอ้างว่าเป็นผู้ทำให้นักข่าวญี่ปุ่นถึงแก่ความตาย หลัง จากนี้ดีเอสไอจะนำสำนวนการชันสูตรพลิก ศพของตำรวจ เข้าประชุมหารือกับอัยการสูงสุดต่อไป
อธิบดีดีเอสไอ กล่าวต่อว่า คดีนี้เป็นกรณีที่ไม่เคยเกิดขึ้น เพราะมีการส่งกลับให้ตำรวจทำสำนวนการชันสูตรพลิกศพ ดังนั้น ต้องรอผลการหารือร่วมกับอัยการสูงสุด จึงยังไม่สามารถระบุถึงแนวทางดำเนินการต่อได้ ส่วนสำนวนชันสูตรพลิกศพที่ตำรวจส่งกลับมายังดีเอสไอ มีข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งการสอบพยานหลักฐานบุคคล วัตถุ และผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่า การตายของนักข่าวญี่ปุ่นเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งอัครราชทูตญี่ปุ่นก็ไม่ได้แสดงท่าทีพอใจ หรือไม่พอใจต่อการชี้แจงของดีเอสไอ แต่ทำหน้าที่เพียงรับทราบความคืบหน้าของคดี และแสดงความเป็นห่วง เพราะมีหน้าที่ต้องดูแลคนญี่ปุ่นในประเทศไทย
ขณะที่ พ.ต.อ.นัยวัฒน์ ผะเดิมชิต รองผบก. ป. กล่าวถึงกรณีนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะขึ้นเวทีนปช.ในวันที่ 10 เม.ย.ว่า หากนายพสิษฐ์ขึ้นเวทีปราศรัย และนำคลิปบันทึกการประชุมของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมาเผยแพร่ซ้ำ ทางพนักงานสอบสวนก็จะยังไม่พิจารณาเรื่องถอนประกันตัว เพราะเป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกัน ไม่เกี่ยวกับคดีเผยแพร่คลิปคดีเก่า อีกทั้งขณะเกิดเหตุนายพสิษฐ์ยังถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของรัฐอยู่ ถึงจะพ้นสภาพเจ้าพนักงานไปแล้ว ก็จะต้องดูจากเหตุผลและข้อเท็จจริงประกอบกันไป แต่ถ้าหากมีการแจ้งความเกิดขึ้น ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ด้าน นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก. ลายจุด แกนนำกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวถึงกิจกรรมรำลึก 1 ปี 10 เม.ย. 2553 ที่แยกคอกวัว ว่า จะนำสมาชิกเสื้อแดงไปจัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ชนิดไม่เคยจัดมาก่อน ส่วนจะเป็นอย่างไร ขอให้รอดู เป็นชิ้นงานพิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อร่วมรำลึกประชาชนที่เสียชีวิต จะต้องใช้พื้นที่ถนนราชดำเนินตลอดทั้งสาย และใช้คนจำนวนมาก
แกนนำ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง กล่าวต่อว่า ช่วงนี้กำลังเข้าสู่การเลือกตั้ง พบว่ามีคนกลุ่มหนึ่งพยายามออกมาต่อต้าน และสร้างกระแสให้ประชาชนเบื่อการเมือง เบื่อการเลือกตั้ง โดยพยายามโน้มน้าวว่าหากออกไปลงคะแนนเสียงแล้ว ก็จะได้นักการเมืองหน้าเก่าๆ และขี้โกง เข้ามาบริหารประเทศอีก แนวคิดของคนกลุ่มนี้เป็นอันตรายต่อบ้านเมืองมาก จึงมีความคิดที่จะออกรณรงค์ให้ประชาชนรักประชาธิป ไตย และออกไปเลือกตั้งกันเยอะๆ เพื่อเราจะได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
วัน เดียวกัน ที่รัฐสภา นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา เป็นประธานประชุมคณะกรรมการ โดยเชิญ พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผบช.น. มาให้ข้อมูลเรื่องการดำเนินคดีอาญา ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. 2553
พล.ต.ต. อำนวย ชี้แจงว่า คดีส่วนใหญ่ที่เกิดจากการชุมนุม จะโอนไปเป็นคดีพิเศษทั้งหมด เป็นคดีตั้งแต่ปีพ.ศ.2552 ส่งไปดีเอสไอ 209 คดี มี 4 กลุ่ม คือก่อการร้าย 119 คดี, ขู่บังคับราชการ 6 คดี, ทำร้ายประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ 66 คดี และกระทำต่ออาวุธยุทธภัณฑ์ของทางราชการ 18 คดี ถ้าจะถามคืบหน้าต้องถามไปที่ดีเอสไอ ส่วนในข้อเท็จจริง การชุมนุมทางการ เมืองจนเกิดปะทะ เมื่อเดือนเม.ย.-พ.ค.2553 การสอบสวนยังไม่ไปถึงไหน เพราะเข้าพื้นที่ชันสูตรพลิกศพไม่ได้ ไปชันสูตรพลิกศพที่โรงพยาบาลแทน ตำรวจมีเวลาสอบเพียง 5 วัน และต้องโอนคดีการสอบพยานต่อทั้งหมดเข้าไปสู่คดีพิเศษ
รองผบช.น. กล่าวว่า คดีที่ส่งไปให้ดีเอสไอทั้ง 4 กลุ่ม เป็นคดีอาญา ปกติถ้ามีการตายที่เกิดจากการทำของเจ้าหน้าที่ หรือตายในห้องขัง ต้องชันสูตรพลิกศพพิเศษ เมื่อตำรวจในพื้นที่ชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้ว ต้องส่งสำนวนไต่ สวนไปที่ศาล แต่ในช่วงเม.ย.-พ.ค.2553 มีผู้เสียชีวิต 89 ศพ ในกทม. เจ้าหน้าที่เข้าไปในที่เกิดเหตุไม่ได้ พอทำคดีเสร็จไม่ปรากฏว่าการตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตาม หน้าที่ ตำรวจต้องส่งไปที่คดีอาญาหลัก คือที่ดีเอสไอ และความตายทั้ง 89 ศพ ไม่มีเจ้าหน้าที่แสดงตัวว่าฆ่าประชาชนตาย แต่ถ้าชัดเจนว่ามีเจ้าหน้าที่ทำ ก็ควร ส่งไปให้ศาลไต่สวน แต่ปัญหามีว่า ทั้ง 89 เรื่องทำสำนวนเสร็จใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือน แล้วส่งไปรวมกับคดีที่ดีเอสไอ แต่ดีเอสไอก็เงียบสนิท
"ก่อนหน้านี้ 3 เดือน ดีเอสไอคัดส่งคืนมา 13 เรื่อง จาก 89 เรื่อง ครั้งแรกพูดชัดว่ามี 12 เรื่องที่เสื้อแดงทำให้ประชาชนตาย และมี 13 เรื่องอาจเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ จึงส่งกลับมาให้ตำรวจ 13 เรื่อง เช่น คดีวัดปทุมฯ คดีทหารถูกยิงที่อนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดี และคดีนักข่าวญี่ปุ่น ส่วนที่เหลือไม่รู้ว่าใครทำ แต่มาหลังๆ สื่อเริ่มรุกถามว่ามีหลักฐานอะไรที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ทำให้ประชาชน ตาย ทางดีเอเอสไอกลับบอกว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ทำให้ตาย แต่ตำรวจยังทำไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ผมขอยกตัวอย่างเรื่องคดีนักข่าวญี่ปุ่น ทั้งที่ส่งเรื่องมาที่ผม แต่ตอนหลังบอกว่าปืนอาก้าที่ใช้ยิงนักข่าวญี่ปุ่นนั้น ทหารไม่ได้ใช้ปืนดังกล่าว ดีเอสไอจึงบอกต้องนำคดีนี้คืนให้เขา ผมเลยออกมา บอกว่า อย่างนี้คือมั่ว" รองผบช.น.กล่าว
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวต่อว่า การที่ดีเอสไอส่งมาให้ตำรวจไต่สวน 13 เรื่อง ต้องใช้เวลาไต่สวน 2 ปีอย่างช้า กว่าจะเสร็จกระบวนการ และที่ดีเอสไอบอกว่ายิงจากฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐนั้น รู้หรือไม่ว่าขณะผู้ตายถูกยิงอยู่ตรงไหน ดีเอสไอบอกไม่รู้ แต่ความจริงต้องรู้จุดที่ถูกยิงก่อนว่า ผู้ตายอยู่ท่าทางใด นั่ง นอน หมอบ ก้ม โค้ง เอียงซ้าย เอียงขวา ถึงจะคำนวณถึงวิถีกระสุนได้ เลยถามว่า 13 เรื่องที่ส่งมาตรวจสอบชัดหรือยัง อย่างคดีวัดปทุมฯ
"ผมเอาปืนจากกอง ทัพมาตรวจหลายร้อยกระบอก ตรวจจากหัวกระสุนต่างๆ ที่เคาะจากศพ ถ้าตรงกับกระบอกไหน ทหารก็จบ ทหารที่ถือปืนกระบอกนั้นเป็นผู้ต้องหาทันที และทหารไม่สามารถเปลี่ยนปืนได้ เพราะนายจตุพร พรหม พันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย มีบัญชีปืนอยู่ในมือหมด คนออกจากหน่วยไหน เอารถคันไหน ออก นายจตุพรมีข้อมูลหมด คงได้มาจากตำรวจแตงโมที่ถูกย้ายไปดีเอสไอ ถ้าผมเปลี่ยนปืน ผมคงติดคุกทันที" พล.ต.ต.อำนวย กล่าว
รองผบช.น. กล่าวอีกว่า ในเรื่องของผลสอบสวนออกมาเพียงคดีเดียว คือที่สวนดุสิต พบว่าหัวกระสุนออกมาไม่ตรงกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ปฏิบัติงาน แต่คดีอื่นๆ ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยในกรณีญี่ปุ่นนั้น หัวกระสุนไม่มี และส่งคดีกลับไปที่ดีเอสไอแล้ว ถ้าคดีนี้เกิดจากการทำของรัฐ ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ ต้นสังกัดของนักข่าวญี่ปุ่น บอกว่าจะฟ้องรัฐ เรื่องนี้คงต้องใช้เวลาสืบสวนถึง 1 ปี แต่อายุความ 20 ปี หากพิจารณาไม่เสร็จก็คงปล่อยให้คดีหมดอายุความ
"ส่วนการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล นั้น เสธ.แดงมีศัตรูเยอะ จึงไม่ทราบว่าใครทำ ส่วนคนเสื้อดำมีจริง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีกล้องวงจรปิดบันทึกภาพได้ และเห็นว่ามีคน ร้ายอยู่ในการชุมนุม ส่วนจะมาช่วยโดยผู้ชุมนุมรู้หรือไม่รู้ตัว ต้องถามดีเอสไอ อีกทั้งคนเหล่านั้นยิงเจ้าหน้าที่ด้วย" พล.ต.ต.อำนวย กล่าว
ที่มา ข่าวสด
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1884 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 01 เม.ย. 54
เวลา 08:52:37
|