หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ห้องแก๋งโฮ๊ะ
เว็บบอร์ด » ห้องแก๋งโฮ๊ะ
รายละเอียดของห้อง : พูดคุยกันเรื่องทั่วๆ ไป, สัพเพเหระ, อยากถาม อยากตอบ
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
7 มิถุนายน วันสถาปนา ''มหาวิทยาลัยแม่โจ้''

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
7 มิถุนายน วันสถาปนา ''มหาวิทยาลัยแม่โจ้''
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 07 มิ.ย. 58 เวลา 10:47:22 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 


ขอบคุณเนื้อหาจาก th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อังกฤษ: Maejo University) ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยมาเป็นระยะเวลา 16 ปี พัฒนามาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ กระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นสถานศึกษาขั้นสูงสุดทางการเกษตรของประเทศในสมัยนั้น ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนามาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ซึ่งได้ทำการขยายพื้นที่การศึกษาไปยังบ้านแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ (ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็ยกฐานะจากโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมที่บ้านแม่โจ้ก่อตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ กระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นสถานศึกษาขั้นสูงสุดทางการเกษตรของประเทศในสมัยนั้น ซึ่งมีประวัติที่เล่าขานและเป็นตำนานที่บอกกล่าวมายาวนานถึงเรื่องราวการบุกเบิกพื้นที่ และการต่อสู้กับงานหนัก เพื่อให้ความรู้ สติปัญญา ฝึกทักษะ อาชีพ และหล่อหลอมความทรหดอดทนของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลของงานที่ทำ ท่ามกลางภยันตรายที่รุมล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ความกันดารของสภาพพื้นที่ที่เป็นป่า ขาดแคลนน้ำและดินเลว สภาพที่อยู่ที่กิน และห้องเรียนทีสร้างจากใบตองตึงพื้นเป็นดิน ซึ่งหากไม่มีหัวใจของนักต่อสู้งานหนัก จิตใจที่ตั้งมั่นและอดทนแล้ว คงมิอาจฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ดังกล่าวไปได้เลย สมดังปรัชญาของลูกแม่โจ้ "งานหนักไม่เคยฆ่าคน(Hard Work Never Kills Anyone)

ยุคสร้าง "แม่โจ้"[แก้]

  • พ.ศ. 2477 จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ ได้มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ ให้อำมาตย์โท พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ โดยจัดแบ่งพื้นที่คนละครั้งกับสถานีทดลองซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ พื้นที่โรงเรียนอยู่ทางทิศใต้ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 900 ไร่เศษ สภาพพื้นที่ยังเป็นป่าตองตึงและไม้เหียงซึ่งเป็นไม้ขนาดย่อมส่วนไม้ป่าอื่น ๆ เช่น สัก ประดู่และตะเคียน มีอยู่เพียงประปรายเท่านั้น เหตุผลเพราะดินชั้นล่างเป็นดินดานแข็งโดยทั่วไป ระบบรากต้นไม้ไม่อาจหยั่งลึกได้ ส่วนดินชั้นบนก็เป็นดินทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์สำหรับการปลูกพืชทั่ว ๆ ไป สภาพพื้นที่อย่างนี้จึงไม่มีใครต้องการจะทำประโยชน์อะไรแต่กลับเป็นเหตุผลจูงใจสำคัญยิ่ง ที่พระช่วงฯ ต้องการจะทำประโยชน์ในพื้นที่อย่างนี้ ท่านเล็งให้เห็นว่าการจะพัฒนาการเกษตร ให้เป็นแบบอย่างสำหรับเกษตรกรทั่วไปได้นั้น สิ่งหนึ่งที่จะทำคือ ต้องนำเอาความรู้มาสาธิตแสดงให้ประจักษ์ต่อบุคคลทั่วไป ได้เห็นว่าการปรับปรุงดินเลวให้สามารถใช้ปลูกพืชโดยจัดระบบปุ๋ยพืชสด การใช้ปุ๋ยหมักต่าง ๆ ในพื้นที่เกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ นา สวนไม้ผล แปลงปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์และระบบการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของพื้นที่นั้น จะสามารถทำการเกษตรได้ทุกอย่าง

การที่ต้องเปิดโรงเรียนตามนโยบายของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) อย่างเร่งด่วนในปีนี้นั้นสภาพสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่นห้องเรียน เรือนนอน โรงอาหารและบ้านพักครู จึงต้องจัดสร้างขึ้นอย่างลำลองชั่วคราว โดยใช้เสาไม้ หลังคาและฝาใช้ใบตองตึง พื้นเป็นดิน ห้องเรียนมีเฉพาะหลังคาไว้กันแดดและฝนเท่านั้น โต๊ะเรียนและม้านั่งก็ใช้ไม้กระดาน 2 แผ่นตอกยึดไว้ นั่งได้ 3 คน สร้างเรียงเป็นแถวไว้เนื่องจากมีนักเรียนเพียง 48 คนในปีแรก เป็นนักเรียนในบำรุง 37 คน และนอกบำรุง 11 คน (นักเรียนในบำรุง คือ นักเรียนที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภาคส่งเข้าเรียนโดยรัฐออกค่าใช้จ่ายค่าอาหารให้เดือนละ 15 บาท ส่วนประเภทนอกบำรุงคือ ผู้ที่สมัครมาเรียนเอง หรือเรียนด้วยทุนส่วนตัว เป็นค่าอาหารเดือนละ 10 บาท) จึงใช้ห้องเรียนเพียงห้องเดียวหมุนเวียนครูอาจารย์สอนแต่ละวิชากันไป (ปี พ.ศ. 2477 มีครูอาจารย์ 5 คน ส่วนปี พ.ศ. 2478 มีเพิ่มอีก 12 คน และรับนักเรียนเพิ่มเป็น 85 คน) ส่วนเรือนนอกนักเรียนนั้น ยกพื้นกระดานสูงจากพื้นดินราว 50 เซนติเมตร ฝาและหลังคาใช้ใบตองตึงทั้งหมด เวลาจะนอนต้องกางมุ้งเพื่อป้องกันยุงและขี้มอดที่ร่วงจากหลังคา

รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 หรือประกาศนียบัตรครูมูล (ป.) ใช้เวลาเรียน 2 ปี ได้รับประกาศนียบัตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) หากรับราชการจะได้เงินเดือนขั้นต้น 45 บาท ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นแรกนี้มีจำนวน 48 คน อาทิ เลขประจำตัว 2: อาจารย์กำจร (ตาคำ) บุญแปง, เลขประจำตัว16: อาจารย์เลื่อน เมฆบังวัง, เลขประจำตัว 38: อาจารย์สุรัตน์ (หลี) มงคลชัยสิทธิ์ และเลขประจำตัว 45: อาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย เป็นต้น สามท่านแรกเมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้รับการบรรจุเป็นครูสอนในปี พ.ศ. 2479 ทันที ส่วนอาจารย์วิภาต บุญศรี วังซ้าย เข้ารับราชการเป็นพนักงานเกษตรกรรมผู้ช่วยและพนักงานยางที่อำเภอหาดใหญ่ และสอบชิงทุนหลวง (ทุน ก.พ.ในปัจจุบัน) ไปเรียนต่อปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ ที่ลอสบานยอส ระหว่างปี พ.ศ. 2480 - 2483 เมื่อจบการศึกษาแล้ว จึงกลับมาสอนและเป็นอาจารย์ผู้ปกครองที่แม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2484

  • หลักสูตร ปปก.รับนักเรียนเพียง 3 รุ่น คือในปี 2477-79 (แม่โจ้ รุ่น 1 จำนวน 48 คน รุ่น 2 จำนวน 84 คน และ รุ่น 3 จำนวน 99 คน)
  • พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม

กระทรวงธรรมการเห็นว่า หลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) ที่เปิดไปแล้วมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนมากพอ และมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรเหล่านี้เพียงจำนวนน้อย จึงให้ยุบเลิกการสอนหลักสูตรดังกล่าว และเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมขึ้นแทน

หลักสูตรที่เปิดใหม่นี้ รับจากผู้สำเร็จมัธยมปีที่ 4 สายสามัญ เข้าเรียนต่ออีก 4 ปี จบการศึกษาแล้วจะไดรับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมบริบูรณ์แผนกเกษตรกรรม เทียบได้ชั้นมัธยม 8

  • หลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) รับเพียง 4 รุ่น ในปี 2478-2481 (แม่โจ้ รุ่น 2 (มก.1) จำนวน 134 คน รุ่น 3 (มก.2) จำนวน 57 คน รุ่น 4 (มก.3) จำนวน62 คน รุ่น 5 (มก.4) จำนวน 51 คน
  • พ.ศ. 2481 จัดตั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กระทรวงธรรมการได้โอนโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมให้กับกระทรวงเกษตราธิการโดยยุบรวมแห่งอื่น ๆ ที่บางกอกน้อย โนนวัด คอหงศ์ และที่แม่โจ้ แล้วจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว หลักสูตร 2 ปี ระดับอนุปริญญา โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยม 8 สำเร็จแล้วบรรจุเป็นข้าราชการชั้นตรี อันดับ 1 อัตราเงินเดือน 80 บาท ตกลงในปีเดียวกันนี้ แม่โจ้จึงเป็นทั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก. ปีสุดท้าย) มัธยมวิสามัญเกษตรกรรม และวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามลำดับโดยมี พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นผู้อำนวยการ

กลางปี พ.ศ. 2481 พระช่วงเกษตรศิลปการได้ย้ายไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรที่กรุงเทพฯ อาจารยจรัด สุนทรสิงห์ มารักษาการแทน

  • พ.ศ. 2482 เป็นโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขนที่แม่โจ้จึงถูกจัดตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ รับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปลาย (ม.6 สายสามัญ) หลักสูตร 2 ปี สำเร็จแล้วเข้าศึกษาต่อได้ที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ

ศาสตราจาร ดร.พนม ย้ายไปกรมเกษตร ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2484 อาจารย์ประเทือง ประทีปเสน จึงรักษาการผู้อำนวยการต่อจนถึงปี พ.ศ. 2486

  • พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้จึงเปลี่ยนไปเป็น"โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" หลักสูตร 2 ปี เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ

  • หลักสูตรตั้งแต่ปี 2482-87 เป็นหลักสูตร 2 ปี (แม่โจ้ รุ่น 6 - รุ่น 11)
  • พ.ศ. 2488 สถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้

ได้มีการยกเลิกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เนื่องจากต้องการที่จะควบรวมกิจการกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บางเขนทั้งหมด กอรปกับในปีนี้เองสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทวีความรุนแรงขึ้น เส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่นทางรถไฟ สะพาน ถูกทำลาย ทำให้มีผู้มาสมัครเรียนเพียง 12 คนเท่านั้น อีกทั้งแม่โจ้ก็อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพมหานคร ไม่สะดวกในการติดต่อและดำเนินงานเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บางเขนจึงให้ยุบเลิกโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ที่แม่โจ้เสีย แต่พระช่วงเกษตรศิลปการ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเกษตรเห็นว่า ควรจะคงสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ไว้สักแห่งหนึ่ง เพราะถิ่นภาคเหนือเป็นแหล่งที่มีน้ำดี อากาศดี อุดมด้วยการกสิกรรมเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านการเกษตรแก่เยาวชนและเกษตรกร โดยจัดตั้งเป็นสถานศึกษาการเกษตร กำหนดเวลาเรียน 3 ปี ใช้หลักสูตรเตรียมอุดมศึกษาอย่างเดิม นับเป็นก้าวใหม่ของการให้การศึกษาอาชีวเกษตรของประเทศ

พ.ศ. 2490-91 งดรับนักศึกษา 2 ปี เพราะไม่ได้งบประมาณอุดหนุนและจำนวนผู้เรียนน้อย

  • พ.ศ. 2492 จัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้

โอนกิจการของสถานศึกษาการเกษตรแม่โจ้ไปสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ เพื่อให้การศึกษาระดับประโยคอาชีวชั้นสูงเกษตรกรรม โดยรับนักศึกษาจากผู้สำเร็จประโยคอาชีวชั้นกลาง เกษตรกรรม และประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมปีที่ 6) ใช้เวลาเรียน 3 ปี ได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูงเกษตรกรรม

ศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ ยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2495 จึงได้ย้ายไปอยู่กับ สำนักงานอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟ.เอ.โอ.) ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา อาจารย์ไสว ชูติวัตร จึงมารับงานในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่สืบแทน จึงถึงปี พ.ศ. 2497 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวหน้ากองโรงเรียนเกษตรกรรม กรมอาชีวศึกษา

 

แสดงโฆษณา

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 3131

แสดงความคิดเห็น โดย โน้ต cmprice IP: Hide ip , วันที่ 07 มิ.ย. 58 เวลา 10:47:22
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี