หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ห้องการเมือง
เว็บบอร์ด » ห้องการเมือง
รายละเอียดของห้อง : "แตกต่างแต่ไม่แตกแยก" ความคิดอันหลากหลาย สำหรับการเมืองในไทย
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
ประชาธิปไตย คือ ?

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
ประชาธิปไตย คือ ?
โพสต์โดย อยากให้ทุกสีได้อ่าน , วันที่ 30 เม.ย. 53 เวลา 23:53:52 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 

ที่มา: http://www.buddhadasa.in.th/site/articles/politic/8.php

            ที่ผ่านมา เราได้พิจารณาถึง “ความหมาย” และ “ความเป็นมา” ของการเมือง ดังที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้แสดงไว้ใน “ธรรมะกับการเมือง”   จากจุดนี้ เราจะลองมาดูข้อเสนอของท่านต่อการเมือง  โดยจะแยกเป็นสองเรื่องใหญ่ๆ  คือ ข้อเสนอในแง่ของระบบการเมืองโดยรวม  และข้อเสนอในแง่ขององค์ประกอบย่อย
ดังที่ ท่านพุทธทาส วิเคราะห์ว่า ความลุ่มหลงใน “ประโยชน์” (ตามความหมายที่แท้จริงของคำคำนี้)  นับเป็น “แรงผลักดัน” ที่สำคัญที่สุดของการเมืองในโลกสมัยปัจจุบัน  และบังคับให้มนุษย์ต้องขยายการติดต่อสัมพันธ์กันให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  ควบคู่ไปกับความเสื่อมถอยทางการเมืองจนถึงระดับที่เป็น “มิจฉาธิปไตย”
            ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอของท่านเกี่ยวกับระบบการเมือง จึงพุ่งตรงไปที่การแก้ปัญหาความลุ่มหลงในประโยชน์ และกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเสื่อมถอยนี้
            ข้อเสนอที่ตรงไปตรงมา และก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดของท่าน ได้แก่ การที่ท่านปฏิเสธ “ประชาธิปไตย”  และให้ความสำคัญกับ “เผด็จการ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบที่ท่านเรียกว่า “เผด็จการโดยธรรม”
            ผมเห็นว่า เรื่องนี้  ควรพิจารณากันอย่างละเอียดถี่ถ้วน จากความคิดและคำอธิบายของท่านเอง  ก่อนที่จะสรุปหรือวิพากษ์วิจารณ์ไปทางใดทางหนึ่ง
            อย่างแรกสุด เมื่อท่านเอ่ยถึง “ประชาธิปไตย” ท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า “ที่เขาพูดกันว่า ระบบประชาธิปไตย เป็นระบบที่ดีที่สุด หรือประกอบด้วยธรรมะที่สุด นี้ก็เกิดปัญหาขึ้นมา โดยความกำกวมของคำ ของภาษาที่ใช้”  ทั้งนี้เพราะ
            “เราไม่ค่อยรู้แน่ว่า คำนี้ที่เป็นภาษาต่างประเทศนั้น มันมีความหมายอย่างไร  แต่ที่เป็นภาษาไทยแล้ว เราก็จะรู้ความหมาย  เช่นคำว่า ประชาธิปไตย นี้ มันก็หมายถึงว่า มีประชาชนนี้เป็นใหญ่ หรือเป็นผู้ใช้อำนาจ  แต่แล้วมันก็มีปัญหาอยู่ที่ว่า ใช้อำนาจนั้น มันถูกธรรมะ หรือไม่ถูกธรรมะ  ถ้าคนแต่ละคนมันไม่มีธรรมะ มันก็ใช้อำนาจที่เป็นอธรรมะ  มันก็ถึงความวินาศกันตรงนี้เอง เพราะประชาธิปไตยนั่นแหละ”
            จากข้อสังเกตเริ่มต้นดังกล่าว ท่านขยายความต่อไปว่า
            “ประชาธิปไตย นี้ ถ้ากล่าวตามความจริงแล้ว มันเหมาะสำหรับคนที่มีธรรมะ  พอไม่มีธรรมะ ประชาธิปไตยนี้ ก็เป็นเครื่องทำลายโลก  ฉะนั้นจึงอยากจะถือว่า มันเลวร้ายที่สุด สำหรับพวกที่ไม่มีธรรมะ  พวกที่ไม่มีธรรมะแล้ว ระบบเผด็จการยังดีเสียกว่า  คือมันยังควบคุมกันได้บ้าง หรือได้ตามที่จะนำไป  แต่ระบบประชาธิปไตยนี้มันคุมกันไม่ได้  มันจึงมีผลอย่างที่เห็นๆ กัน อยู่ในโลกนี้”
            ผลที่เห็นๆ กันอยู่นั้น ก็คือ “โรคผลัดกันคุมทีมเข้ามาครองเมือง” เพื่อ “แสวงหาลาภลอยชั้นเลิศ” ดังที่ได้กล่าวไปเมื่อคราวที่แล้วนั่นเอง
             กล่าวอีกนัยหนึ่ง  ในทัศนะของท่านพุทธทาส “โลกนี้มีแต่ประชาธิปไตยกอบโกย ไม่มีประชาธิปไตยเมตตากรุณา”  และเป็น “ประชาธิปไตยที่นิยมบุคคล นิยมประโยชน์ของแต่ละบุคคล นิยมอำนาจของแต่ละบุคคล ให้บุคคลต่อสู้แย่งชิงอำนาจและประโยชน์กันเอง มันมีประชาธิปไตยแย่งกันกอบโกย”
            ระบอบดังกล่าวนี้ “เรียกเป็นบาลีสักหน่อยก็ว่า เป็น เอกัตตนิยม  เอกัตตะ นี้ แปลว่า ตัวเดียว เอกัตตนิยม คือ นิยมตัวเดียว  มันไม่มีประชาธิปไตยเมตตากรุณา ที่เห็นแก่ผู้อื่น ที่จะเรียกว่า ธัมมิกสังคมนิยม หรือจะเรียกสั้นๆ ว่าสังคมนิยมก็ได้  แต่ต้องจำกัดให้ชัดลงไปว่า นิยมสังคมด้วยเมตตากรุณา  นี้เรียกว่าประชาธิปไตยเมตตากรุณามันไม่มี  มันมีแต่ประชาธิปไตยกอบโกย”
            ขอให้สังเกตว่า เมื่อท่านพุทธทาสวิพากษ์หรือปฏิเสธ “ประชาธิปไตย”  ท่านเน้นไปที่ประชาธิปไตย ตามความเข้าใจของยุคสมัย  ซึ่งเน้น “เอกัตตนิยม” หรือที่เรามักใช้คำว่า ปัจเจกนิยม หรือ ปัจเจกชนนิยม 
ประชาธิปไตยในแบบเอกัตตนิยมหรือปัจเจกชนนิยมนี้  ยังเน้น “เสรีภาพ” ในการที่จะแสวงหาสิ่งที่ตนเห็นว่าจะนำมาซึ่งประโยชน์หรือความสุขของตน  ซึ่งก็คือ “ความลุ่มหลงในประโยชน์” หรือ “การเป็นทาสของประโยชน์” ตามคำวิจารณ์ของท่าน
            อาจกล่าวได้ว่า ระบอบที่เข้าใจกันว่าเป็น “เสรีประชาธิปไตย” หรือ “ประชาธิปไตย”  อันมีพื้นฐานอยู่บนการแข่งขันทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม นั่นเอง คือสิ่งที่ท่านพุทธทาสภิกขุ เห็นว่านำไปสู่ “การใช้อำนาจที่เป็นอธรรมะ”  และ “เป็นเครื่องทำลายโลก”  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อระบอบนี้  ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อ “การสะสมส่วนเกิน” และขยายการสะสมนี้ต่อไปเรื่อยๆ ในลักษณะ “กอบโกย” ไม่มีที่สิ้นสุด
            ดังที่ท่านได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า การสะสมส่วนเกินนี้เอง ทำให้การเมืองต้องบังเกิดขึ้น  และยิ่งมีการสะสมส่วนเกินมากขึ้นเท่าไร  “ผิดจากธรรมชาติ” หรือห่างเหินจากสมดุลธรรมชาติมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้การเมืองเสื่อมถอยลงสู่ “ความสกปรก” และ “มิจฉาธิปไตย” มากเท่านั้น  และจะยิ่งนำความไม่เป็นปกติ ความเดือดร้อน หรือแม้ “ความวินาศ” มาสู่สังคมมนุษย์
            ฉะนั้น “ประชาธิปไตย”  ที่ท่านพุทธทาสวิจารณ์หรือปฏิเสธ จึงมีนัยหมายถึง ประชาธิปไตยแบบนี้โดยเฉพาะ  และหากเราคำนึงถึงบริบทในการนำเสนอ “ธรรมะกับการเมือง”  ว่าอยู่ในช่วงแห่งการต่อสู้อย่างเข้มข้นของอุดมการณ์ทางการเมืองสองแบบในช่วงสงครามเย็น  เราย่อมเห็นได้ว่า แท้ที่จริง นี่เป็นการแสดงจุดยืนในด้านหนึ่งของท่านอย่างชัดเจนเลยทีเดียว

            ในทางกลับกัน  เมื่อท่านกล่าวถึง “เผด็จการ” เราก็เห็นนัยหรือความหมายเฉพาะบางประการเช่นกัน
            “ถ้าคนดีแล้ว มันก็เผด็จการได้ ถ้าผู้บังคับบัญชาดีแล้ว ยอมให้เผด็จการดีกว่า มันจะเร็ว ....ฉะนั้น จะต้องมีการบังคับบัญชาโดยธรรม ถ้าจำเป็นจะต้องเผด็จการ ก็เผด็จการโดยธรรม พุทธบริษัทจึงเหมาะสมสำหรับระบบที่เรียกว่า ธัมมิกสังคมนิยม เผด็จการโดยธรรม”
            และนับวัน เผด็จการจะยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะ
            “เมื่อมนุษย์มีมากขึ้นในโลก ศีลธรรมเสื่อมทราม เราต้องมีระบบการเมืองชนิดเผด็จการ  เพราะยิ่งมากคน มันก็ยิ่งมีเกเรมาก ยิ่งควบคุมยาก ยิ่งเกเรมาก  ฉะนั้นต้องมีเผด็จการโดยธรรม โดยความถูกต้อง โดยความเมตตากรุณา  แม้ว่าจะมีการกำจัดคนเกเรออกไป ก็เรียกว่ายังถูกต้องอยู่นั่นแหละ  เพราะฉะนั้นระบบการเมืองนี้ ต้องเป็นเผด็จการโดยธรรม”
            จากข้อความที่ยกมานี้  เราจะเห็นได้ว่า  ระบบการเมืองที่ท่านเรียกว่า “ธัมมิกสังคมนิยม”  และนำเสนอเป็นทางเลือกทางการเมืองให้กับสังคมไทยและโลกปัจจุบัน  ก็คือไวพจน์ของ “เผด็จการโดยธรรม” นั่นเอง  และมีความหมายตรงข้ามกับ “ประชาธิปไตย” ในลักษณะ “เอกัตตนิยม”
            เราเห็นความแตกต่างนี้ได้อย่างชัดเจน เมื่อท่านกล่าวว่า
            “ระบบสังคมนิยม มันมีหลักเกณฑ์ในตัวมันเอง ที่ไม่ปล่อยให้ใครทำอะไรตามใจตัว มือใครยาวสาวเอา หรืออะไรทำนองนั้น  แต่มีการควบคุม จำกัดไว้ว่าจะต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม  ฉะนั้นระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ทั้งหลาย มันจึงเป็นไปในทางเห็นแก่ส่วนรวม  ฉะนั้นแม้ว่าจะเอามาใช้กับประชาชนที่ไม่มีศีลธรรม มันก็ยังปลอดภัยกว่าระบบประชาธิปไตย  คือไม่ยอมให้ทุกคนทำอะไรตามใจ ตามกิเลสของตัว ต้องเห็นแก่ผู้อื่นด้วย ฉะนั้นจึงทำอะไรมากไม่ได้”
             คำว่า “เผด็จการ” ที่ท่านใช้ จึงมุ่งหมายที่จะสื่อถึง การบังคับควบคุมในแบบของ “สังคมนิยม”  เพื่อป้องปรามไม่ให้ “การทำอะไรตามใจตัว” หรือระบบ “มือใครยาวสาวได้สาวเอา” ขยายตัว  และวางแนวทางให้การเมืองมีจุดหมายอยู่ที่ “ประโยชน์ส่วนรวม” เป็นหลัก
            กระนั้นก็ตาม สังคมนิยมที่มีอยู่ในโลก  ก็ยังเป็นสังคมนิยมซึ่งในที่สุดแล้ว  “ตกไปอยู่ในมือของคนที่ไม่มีศีลธรรมก็มี”   ด้วยเหตุนี้ ท่านพุทธทาสจึงเห็นว่าจะต้องเป็น “ธัมมิกสังคมนิยม”  ทั้งนี้เพราะ “แม้ระบบสังคมนิยม มันก็ต้องประกอบอยู่ด้วยธรรมะอีกนั่นเอง  มันจึงจะเป็นระบบสังคมนิยมที่ใช้ได้”
            กล่าวโดยภาพรวม  ข้อเสนอของท่านพุทธทาสภิกขุเกี่ยวกับระบบการเมือง  จึงเน้นไปที่สังคมนิยม ซึ่งมีผู้ปกครองหรือนักการเมืองประกอบด้วยธรรม  ใช้วิธีเผด็จการอันกอปรด้วยธรรม จัดระบบ วางระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้สมาชิกอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวม
            จากข้อสรุปดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องแปลก  ที่นักวิชาการและปัญญาชนประชาธิปไตยจำนวนไม่น้อย จะปฏิเสธและวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอนี้อย่างแรง  ถึงขั้นกล่าวว่า “รับไม่ได้”  หรือรู้สึกผิดหวังก็มี  บางท่านถึงกับต้องไปสวนโมกข์เพื่อแสดงทัศนะในเชิง “สานเสวนา” กับท่าน
            ผมคิดว่า ท่านพุทธทาสภิกขุคงไม่เปลี่ยนจุดยืน 
สำหรับท่าน ประชาธิปไตยจะมีได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อสมาชิกส่วนใหญ่ มีความเป็น “สัตบุรุษ” หรือ “กัลยาณชน”  เป็นอย่างน้อย อันจะทำให้เป็น “ธัมมิกประชาธิปไตย” หรือ “สัมมาธิปไตย”  
แต่ในโลกที่ท่านเห็นว่า ศีลธรรมกำลังเสื่อมทรามลงอย่างกว้างขวาง  และการแสวงหาประโยชน์ส่วนเกินชนิด “ลาภลอยชั้นเลิศ” กลายเป็นความใฝ่ฝันของผู้คนเป็นอันมาก  ประชาธิปไตยก็มิใช่อะไรอื่น  นอกจากโอกาสผลัดกันกอบโกยจนนำไปสู่ความวินาศเท่านั้นเอง

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 4169

แสดงความคิดเห็น โดย อยากให้ทุกสีได้อ่าน IP: Hide ip , วันที่ 30 เม.ย. 53 เวลา 23:53:52
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี