หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางาน l คอมพิวเตอร์ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าลงโฆษณา
www.cmprice.com เว็บไซต์ของฅนเชียงใหม่ เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

หน้าแรก » เว็บบอร์ด
ข่าวทั่วไป
เว็บบอร์ด » ข่าวทั่วไป
รายละเอียดของห้อง : ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา ข่าวน่าสนใจทั่วไป
กระทู้ที่ตอบกลับล่าสุด | สร้างกระทู้ใหม่ | ดูกระทู้ทั้งหมด | ค้นหากระทู้ :
"หลวงพ่อปัญญา" ผู้รังสรรค์งานในโลกธรรมะ

แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV
"หลวงพ่อปัญญา" ผู้รังสรรค์งานในโลกธรรมะ
โพสต์โดย ตนข่าว เชียงใหม่ , วันที่ 11 ต.ค. 50 เวลา 20:29:40 IP: Hide ip    


กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ
จาก cmprice.com
VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน


 

© เนื้อหาข่าว/กระทู้

 


จากเด็กชาวนาสู่ภิกษุผู้จาริกแสวงบุญศิษย์ตถาคต 78 พรรษาในร่มกาสาวพัตร์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุแสดงธรรมเทศนาและเผยแผ่หลักธรรมคำสอนแก่พุทธศาสนิกชนมาแล้วเกือบทั่วโลก

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุเดิมชื่อ"ปั่น เสน่ห์เจริญ" เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่11 พฤษภาคม 2454 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ ต.คูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายวันและนางคล้าย เสน่ห์เจริญ มีพี่ชาย 1 คน พี่สาว 2 คน และน้องสาว 1 คน ครอบครัวมีอาชีพทำนา เลี้ยงวัว ควาย ฐานะพอกินพอใช้ไม่ถึงกับร่ำรวย 

พ่อวันถือเป็นครูคนแรกของด.ช.ปั่น ตามมาด้วยหลวงน้าจากลำปำที่มาจำพรรษาที่วัดนางลาด เด็กชายเป็นคนหัวไว อ่านหนังสือได้เร็ว พออายุได้ 8 ขวบ เข้าเรียนชั้น ป.1 ที่ ร.ร.วัดประดู่หอม จนจบ ป.3 จึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ห่างจากบ้านนางลาดประมาณ 15 กิโลเมตร แต่เรียนจบแค่ชั้น ม.3 ก็ต้องมีเหตุจำเป็นต้องลาออกกลางคัน เมื่อพ่อป่วยหนัก ต้องออกมาช่วยทางบ้านทำนา เลี้ยงวัว ควาย 

สมัยนั้นคนที่เรียนจบชั้นม.3 สามารถเป็นครูสอนหนังสือได้แล้ว หลวงลุงวัดคูหาสวรรค์เห็นว่าหากปล่อยไปก็เสียดายความรู้ที่ร่ำเรียนมา จึงชักชวนปั่นไปอยู่ปีนัง ประเทศมลายู แต่พอไปอยู่เข้าจริงๆ ก็ไม่มีโอกาสศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงกลับมาทำงานกรรมกรเหมืองแร่ที่ภูเก็ตและรับจ้างกรีดยาง กระทั่งมีผู้ชักชวนไปเป็นครูที่ระนอง ทว่าโชคชะตาคงลิขิตไว้แล้ว ปั่นไม่ได้งานสอนหนังสือ เพราะมีคนสมัครตัดหน้าไปแล้ว 

ระหว่างนี้ปั่นอาศัยอยู่กับพระครูพิพัฒน์สมาจารย์วัดอุปนันทาราม อยู่มาวันหนึ่งท่านพระครูพิพัฒน์สมาจารย์สอบถามว่า สนใจบรรพชาเป็นสามเณรบ้างหรือไม่ ชายหนุ่มตอบด้วยความเต็มใจว่าอยากบวช ดังนั้น วันที่ 2 กรกฎาคม 2472 จึงมีสามเณรปั่นเกิดขึ้นและเกิดพระนักเทศน์ผู้ปราดเปรื่องในหลักธรรมคำสอนของพระตถาคต

ระหว่างนี้สามเณรปั่นเป็นครูสอนนักเรียนในวัดชั้นป.1-3 ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง และ จ.ระนอง ด้วยการสอบนักธรรมตรีได้ที่ 1 ของมณฑลภูเก็ต ในหัวข้อกระทู้ธรรม "น สิยา โลกวฑฺฒโน-ไม่ควรเป็นคนรกโลก" 

อีก2 ปีต่อมา วันที่ 28 กรกฎาคม 2474 สามเณรปั่นกลับไปบวชเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด ต.เขาเจียก อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระครูจรูญกรณีย์เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาใหม่ว่า "พระปั่น ปทุมตตโร" ก่อนจะย้ายไปจำวัดศึกษาธรรมที่วัดปากนคร จ.นครศรีธรรมราช และสอบนักธรรมโท-เอก ได้ในเวลาต่อมา สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ 

พระปั่นขึ้นธรรมาสน์เทศน์ครั้งแรกเมื่อปี2475 ที่วัดปากนคร ในวันพระวันหนึ่ง บังเอิญเจ้าอาวาสไม่อยู่ ชาวบ้านมาทำบุญและอยากฟังเทศน์ตามปกติ จึงนิมนต์พระปั่นขึ้นธรรมาสน์ เพราะเห็นว่ามีความรู้ขั้นนักธรรมเอก แล้วท่านก็สร้างความอัศจรรย์แก่ชาวบ้านบนศาลาวัด เมื่อแสดงธรรมเทศนาได้อย่างคล่องแคล่ว โดยไม่อาศัยหนังสือใบลานเลยแม้แต่น้อย นับเป็นการเริ่มต้นชีวิตพระนักเทศน์ขึ้นครั้งแรก ณ วัดแห่งนี้

อีก2 ปีต่อมา "พระโลกนารถ" ภิกษุชาวอิตาเลียน มีแนวคิดจะเดินธุดงค์จากเมืองไทยผ่านพม่า อินเดีย และประเทศต่างๆ แถบยุโรปจนถึงอิตาลีบ้านเกิด เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา ประกาศชักชวนพระสงฆ์ไทยเข้าร่วมธุดงค์ พระปั่นสนใจจึงชักชวนพระสงฆ์อีก 8 รูป จากนครศรีธรรมราชและพัทลุงไปสมทบ

ขณะคณะสงฆ์9 รูป เดินไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช มีญาติโยมติดตามไปส่งมากมายนับพันคน และที่นี่ก็ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง เมื่อพระปั่นแสดงปาฐกถาธรรมด้วยการยืนเทศน์บนม้านั่ง หน้าไมโครโฟน กลายเป็นพระรูปแรกที่ยืนเทศน์รูปแรกของเมืองไทย ซึ่งต่อมาเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างจากวงการสงฆ์ว่า ไม่เหมาะสม ไม่สำรวม บ้างก็ว่าไม่ได้เทศน์ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะไม่ได้อ่านจากใบลาน แต่เรื่องนี้ก็ได้รับการยอมรับในเวลาต่อๆ มา

แต่การเดินทางจาริกแสวงบุญก็ไม่ราบรื่นอย่างที่คิดไว้สุดท้ายพระปั่นจึงตัดสินใจเดินทางกลับเมืองไทย ล่องใต้ไปจำวัดอยู่ที่วัดอุทัย อ.เมือง จ.สงขลา และสร้างตำนานการบรรยายธรรมนอกใบลาน ทันยุคสมัย จนเกิดการบอกเล่ากันปากต่อปาก มีกิจนิมนต์ไปบรรยายธรรมอยู่มิได้ว่างเว้น

ปี2480 หลังกลับมาจากการธุดงค์ พระปั่นได้ไปจำพรรษาที่สวนโมกขพลาราม ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกับท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นสหายธรรมิก ร่วมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยท่านพุทธทาสกับพระปั่นเก่งกันไปคนละทาง ท่านพุทธทาสภิกขุเปรียบเหมือนผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ตีแผ่พระไตรปิฎกอย่างตรงไปตรงมา ไม่ก่อให้เกิดการหลงผิดและเชื่อผิดๆ เหมือนที่ผ่านมา 

ส่วนพระปั่นมีความปราดเปรื่องเรื่องการเทศน์ใช้คำพูดเรียบง่าย เข้าใจง่าย ไม่อ้างคำบาลีพร่ำเพรื่อจนเข้าใจยาก มีวาทศิลป์เป็นเลิศ อธิบายหลักธรรมให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายๆ น่าสนใจว่า พระเถระทั้งสองได้รับสมณศักดิ์เท่าเทียมกันเหมือนกันสองชั้น คือ พระเทพวิสุทธิเมธี และพระธรรมโกศาจารย์ 

อีก4 ปีต่อมา พระปั่นออกจากสวนโมกขพลารามขึ้นมาศึกษาภาษาบาลีที่วัดสามพระยา กทม.จนสอบได้เปรียญ 3-4 เป็นพระมหาปั่น แต่ยังไม่ทันได้เริ่มเรียนเปรียญ 5 ก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงเดินทางกลับภาคใต้ เลยไปจำพรรษาที่วัดไทยในปีนังร่วม 2 ปี กระทั่งไดัรับหนังสือจากท่านพุทธทาสภิกขุ ขอให้ไปช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนาที่เชียงใหม่ตามคำเชิญของ "เจ้าชื่น สิโรรส"

วันที่13 เมษายน 2492 พระมหาปั่นเดินทางถึงเชียงใหม่ "เจ้าชื่น สิโรรส" และคณะ คอยรับที่สถานีรถไฟเชียงใหม่ พระมหาปั่นรายงานต่อเจ้าชื่นว่า "อาตมาชื่อปัญญานันทภิกขุ รูปที่ท่านพุทธทาสส่งมาไงล่ะ" ชื่อ "ปัญญานันทภิกขุจึงเกิดขึ้นครั้งแรกที่เชียงใหม่ ที่ท่านตั้งขึ้นเอง จนกลายเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ แม้จะมีสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับ ผู้คนก็ยังเรียกขานแต่นามนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ท่านปัญญานันทภิกขุพักอยู่ที่วัดอุโมงค์เชิงดอยสุเทพช่วยเหลืองานพุทธนิคมของเชียงใหม่ ร่วมบริหารกิจการโรงพิมพ์ออกวารสารชาวพุทธ ร่วมกับเจ้าชื่น สิโรรส และคณะพุทธนิคม นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการเผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ ทั้งมาเลเซีย ร่วมเดินทางไปกับคณะธรรมจาริกไปพม่า อินเดีย ศรีลังกา ลาว ตลอดจนอังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ ท่านปัญญานันทภิกขุยังได้รับเกียรติในฐานะตัวแทนชาวพุทธจากประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมศาสนิกชนจากทั่วโลกที่สวิตเซอร์แลนด์ถึง 3 ครั้ง 

ท่านปัญญานันทภิกขุได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น"พระปัญญานันทมุนี" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 หลังจากจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์นานถึง 10 พรรษา ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ขึ้นไปเชียงใหม่เกิดความประทับใจในลีลาการสอนธรรมแนวใหม่ของท่านปัญญานันทภิกขุ จึงนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2503 

ระหว่างอยู่ในร่มกาสาวพัตร์ท่านปัญญานันทภิกขุได้แสดงธรรมเทศนาถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ และเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ ก่อนจะได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมาเป็น "พระราชนันทมุนี" และ "พระเทพวิสุทธิเมธี" 

ก่อนมรณภาพท่านปัญญานันทภิกขุได้ตั้งปณิธานที่จะทำงานชิ้นสุดท้ายในชีวิตของท่านคือ การสร้างอุโบสถกลางน้ำที่วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ที่คาดกันว่าอีก 2 ปี คงจะแล้วเสร็จ 

"อุโบสถกลางน้ำจะเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ของผู้สนใจในหลักธรรมะ เคยเห็นผู้ที่เดินทางไปเรียนหลักธรรมะจากอินเดีย จีน ถ้าอยากให้คนต่างชาติมาเรียนพุทธศาสนาในไทย ก็จะต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ที่น่าศึกษาเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ตราบใดที่มีลมหายใจเข้าออก ต้องทำให้สำเร็จ ไม่สำเร็จ ไม่เลิก" นั่นคือปณิธานของหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

 




อุโบสถกลางน้ำพันธกิจสุดท้าย ของหลวงพ่อปัญญานันทภิกษุ

แม้หลวงพ่อปัญญาจะเคยตั้งอธิษฐาน...อุโบสถไม่เสร็จไม่ตาย แต่ ณ วันนี้ ใครจะคาดคิดว่าหลวงพ่อจะจากไปก่อนที่พระอุโบสถทรงไทยประยุกต์กลางน้ำ "มรดกธรรม" ชิ้นสุดท้ายของหลวงพ่อจะสำเร็จลุล่วง 

ความตั้งใจที่จะสร้างพระอุโบสถทรงไทยประยุกต์กลางน้ำ"มรดกธรรม" ชิ้นสุดท้ายของ พระพรหมมังคลาจารย์หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ให้แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในการทำสังฆกรรม อันเป็นกิจของสงฆ์ที่เป็นหมู่คณะจะพึงปฏิบัติร่วมกัน ในการศึกษาเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัย ซึ่งต้องใช้งบประมาณถึง 136 ล้านบาท


แม้ว่าท่านจะไม่ได้เป็นพระที่อยู่ในจ.พระนครศรีอยุธยาแต่ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็รู้สึกเสียใจ โดยก่อนที่ท่านจะมรณภาพ หลวงพ่อได้เดินทางมายัง จ.พระนครศรีอยุธยา บ่อยครั้ง เพื่อตรวจเยี่ยมการก่อสร้างพระอุโบสถทรงไทยประยุกต์กลางน้ำ2 ชั้น อยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ชั้นบนรองรับพระสงฆ์ได้ 400 รูป และมีลานล้อมรอบพระอุโบสถ ส่วนชั้นล่างเป็นฐานพระอุโบสถครอบคลุมพื้นที่ลานจากส่วนบน จึงมีขนาดกว้าง และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ รองรับคณะสงฆ์ได้ 4,000 รูปหลังนี้ 

หลวงพ่อปัญญา ต้องการสร้างพระอุโบสถทรงไทยประยุกต์กลางน้ำให้แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา และเป็นที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ทดแทนสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่ถูกทำลายไปในครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเหลือเพียงซากปรักหักพัง 

งานชิ้นนี้แสนจะยิ่งใหญ่อลังการและถาวรวัตถุศักดิ์สิทธิ์นี้ ถือว่าเป็นงานใหญ่ชิ้นสุดท้ายในบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อปัญญา  

พระอุโบสถทรงไทยประยุกต์กลางน้ำสร้างอยู่บนพื้นที่ 84 ไร่ 1 งาน 37 ตารางวา ในหมู่ 5 ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 136 ล้านบาท วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548 

การก่อสร้างได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องโดยหลวงพ่อจะเดินทางมาดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งใจจะให้เสร็จปลายปี 2550 เพื่อให้ทันถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ปรากฏว่าต้องมาประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม และการแก้ไขแบบทำให้การก่อสร้างล่าช้า 

...หลวงพ่อคิดฝันอยากให้เสร็จเร็ววันเร็วคืน และแวะเวียนไปดูความคืบหน้าของงานก่อสร้างด้วยตัวเองทุกอาทิตย์เมื่อว่างเว้นจากกิจนิมนต์ แต่หลวงพ่อก็ปล่อยวาง "ปล่อยให้มันเป็นไปตามเหตุผลปัจจัย" ...มีคนถามหลวงพ่อว่าจะมาดูแลจนเสร็จเรียบร้อยเลยไหม หลวงพ่อพยักหน้า บอกว่า "ถ้าไม่ตายก่อนนะ"  

แม้หลายคนจะถามท่านว่าเวลาเหลือเพียงน้อยนิดท่านจะทำอะไรต่อไปในชีวิต... "ทำงานต่อไปจนกว่าจะหมดลมหายใจ"...คือคำตอบของท่าน 

บรรดาเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลายของหลวงพ่อคงได้แต่ภาวนาและหวังอยากให้พระอุโบสถทรงไทยเสร็จในขณะที่หลวงพ่อยังมีชีวิต มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ให้ท่านได้มีโอกาสชื่นชม แต่ในที่สุดท่านก็ต้องมาจากไป ก่อนที่  มรดกธรรม ชิ้นสุดท้ายจะลุล่วง

ปัจจุบันพระอุโบสถทรงไทยประยุกต์กลางน้ำสร้างเสร็จไปแล้วกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ยังเหลืองานหลังคา งานลวดลาย และงานดอกบัว คาดว่าใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปีเศษก็จะแล้วเสร็จซึ่งการก่อสร้างคงไม่มีปัญหา เนื่องจากมีงบประมาณอยู่แล้ว ประกอบกับศิษยานุศิษย์ได้ร่วมแรงร่วมใจเพื่อให้มรดกธรรมชิ้นนี้สำเร็จลุล่วงตามความประสงค์ของหลวงพ่อ...  



ที่มาจาก
หมายเหตุ: ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก http://community.thaiware.com/lofiversion/index.php/t278513.html 

 


Copy Link : ท่านสามารถ copy ลิงค์ของข่าวนี้เพื่อเผยแพร่ต่อได้
แชร์หน้านี้ ไปยัง facebook ตอบกลับกระทู้นี้ VV กดถูกใจกระทู้นี้ VV


ลิงก์ผู้สนับสนุน

ลิงก์ผู้สนับสนุน

 

 

 

 

 



แจ้งลบกระทู้นี้

อ่าน 1605

แสดงความคิดเห็น โดย ตนข่าว เชียงใหม่ IP: Hide ip , วันที่ 11 ต.ค. 50 เวลา 20:29:40
 

 

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 

 
กรุณาอ่าน
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บบอร์ดไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถ ระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใด ที่ขัดต่อกฎหมายและ ศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ 08-0500-1180 เพื่อให้ผู้ควบคุม ระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
 
 
 


ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี