• เตรียมพร้อม! วันที่ 11-14 ม.ค.นี้ จะเป็นหนาวที่สุดของและหนาวสุดท้ายของปีนี้ ภาคเหนืออุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่า 12 ℃ |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 07 ม.ค. 68 เวลา 19:52:57 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
7 มกราคม 2568-รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ประธานกรรมการบริหาร Futuretales LAB, MQDC และผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศระบุว่า…
“หนาวรอบสองหนาวกว่ารอบแรก (11-14 มราคม) เป็นหนาวที่สุดของปีนี้ สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในอีก 5 ปีข้างหน้า
ทั้งลมแรง และหนาวแรงจะมาเป็นรอบที่ 2 ระหว่าง 11-14 มกราคม (วันที่ 13 มกราคม จะหนาวที่สุด) และจะเป็นหนาวที่สุด และหนาวสุดท้ายของปีนี้ อุณหภูมิจะลดลง 2-3 ℃ ในหลายพื้นที่ (เฉดสีฟ้า และน้ำเงิน)โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคอีสานตอนบน (อุณหภูมิต่ำสุดในพื้นราบต่ำกว่า 12 ℃ พื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำปางจะหนาวสุดๆ) ภาคกลาง กทม. และปริมณฑล (อุณหภูมิต่ำสุดในพื้นราบต่ำกว่า 16 ℃) ความหนาวเย็นเกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี ปรากฏการณ์ La Nina (มีระดับรุนแรงสุดเดือนมกราคม 2568 ดูรูปแนบ) มีส่วนสำคัญ ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนจากความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่แผ่ลงมาเป็นช่วงๆ (จากโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ทำให้อุณหภูมิลดลงเป็นช่วงๆเช่นกัน หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆอุ่นขึ้นตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมนี้
เนื่องจากช่วงวันดังกล่าว ความหนาวเย็นจะมาพร้อมลมในระดับรุนแรงมากกว่า 70% (เฉดสีเหลือง) เกษตรกรไม้ผล จึงควรเฝ้าระวังป้องกันผลกระทบด้วย อนึ่งภาพรวมปริมาณฝนในปี 2568 คาดการณ์ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ฝนจะมาเร็วในช่วงต้นฝน (พฤษภาคม) และมีแนวโน้มจะทิ้งช่วงกลางฝน (มิถุนายน-กรกฎาคม) สภาพอากาศจะร้อนผิดปกติ (เฉดสีแดง) และจะมีบางพื้นที่ที่ฝนจะน้อย (ภาคเหนือ และภาคอีสานบน) สำหรับปลายฝน (กันยายน-พฤศจิกายน) ภาคใต้จะมีฝนมากกว่าปกติ (เฉดสีเขียว) พายุจรต้องจับตาเส้นทางที่จะทำให้เกิดฝนตกหนัก และเกิดน้ำไหลหลากซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ระยะยาวได้
สถานการณ์จากนี้ต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า สภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จากผลพวงของการใช้พลังงานฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น และการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากขึ้นต่อเนื่อง การคาดการณ์โดย IPCC (Intergovermental Panel on Climate Change) พบว่าโลกจะเจอกับอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถาวร 1.5 ℃ ก่อนปี 2576 ประกอบกับการคาดการณ์โดย AI มีแนวโน้มสภาพอากาศแปรปรวนสูง การประเมินความเสี่ยงในรายละเอียดเฉพาะพื้นที่จากสภาพอากาศรุนแรงในประเทศไทยจึงมีความจำเป็น เพราะการตัดสินใจที่ผิดพลาดย่อมนำมาซึ่งความเสียหายทางธุรกิจ และชุมชนได้
ชุมชน เทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดต้องการติดต่อทีมกู้วิกฤติน้ำ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โปรดประสานได้ที่ คุณนพดล มากทอง โทร 099-0288333”
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 437 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 07 ม.ค. 68
เวลา 19:52:57
|